การใช้บทเรียนวิดีทัศน์ประกอบการสอนดนตรี กรณีศึกษาโรงเรียนที่ขาดแคลนครู

Main Article Content

สุภาพร ฉิมหนู

บทคัดย่อ

          ดนตรีมีประโยชน์สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการเชาว์ปัญญาและฝึกสมาธิให้กับเด็กซึ่งปัจจุบัน
ได้รับความนิยมอย่างมากแต่สำหรับเด็กในชนบทดนตรียังเข้าถึงได้ไม่เพียงพอ บางสถานศึกษาประสบปัญหาการขาดแคลนผู้สอนไม่มีสื่อการสอนและมีปัญหาด้านงบประมาณ การวิจัยครั้งนี้จึงคิดค้นบทเรียน
วีดิทัศน์เพื่อใช้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนครู โดยเลือกเครื่องดนตรีที่ราคาย่อมเยานั่นคือเมโลเดียน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1)เพื่อพัฒนาบทเรียนวีดิทัศน์ประกอบการสอนดนตรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนวีดิทัศน์ (3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนวิดีทัศน์ประชากรเป็นนักเรียนโรงเรียนวัดป่าขวาง (ธรรมรักษ์ราษฎร์ศึกษา)และนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านสะท้อน (วันครู2503) การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้นักเรียนช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ (1)แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อใช้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (2)บทเรียนวีดิทัศน์ เรื่อง
การเล่นเมโลเดียนเบื้องต้น สำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลนครู (3)แผนจัดการเรียนรู้และคู่มือประกอบบทเรียน เรื่องการเล่นเมโลเดียนเบื้องต้น (4)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ทฤษฎี-ปฏิบัติ) (5)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน   
          ผลการวิจัยมีดังนี้ (1)บทเรียนวีดิทัศน์ เรื่องการเล่นเมโลเดียนเบื้องต้นมีประสิทธิภาพ 80.58 /87.45 สูงกว่าเกณฑ์กำหนด 80/80 (2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (3) ผลการสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนวีดิทัศน์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 ระดับพึ่งพอใจมากที่สุด บทเรียนวีดิทัศน์มีประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลนครู ลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษาและยังสามารถเรียนซ้ำไม่จำกัดเวลาเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างมาก สำหรับวิชาดนตรีในระดับประถมสถานศึกษาการใช้บทเรียนวีดิทัศน์เพียงอย่างเดียวสามารถทำให้นักเรียนปฏิบัติเครื่องดนตรีได้ในระดับเบื้องต้น หากเป็นการศึกษาดนตรีในระดับที่สูงขึ้นจำเป็นต้องมีผู้สอนคอยแนะนำกระบวนการฝึกฝนแบบตัวต่อตัว จะทำให้ผู้ฝึกสามารถบรรลุผลสำเร็จในศึกษาดนตรีได้อย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.

กฤษติศักดิ์ พูลสวัสดิ์ และ กีรติ คุวสานนท์. (2561). ดนตรีกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กทารกแรกเกิดจนถึงวัยประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12 (1), 230-242.

กิ่งแก้ว อารีรักษ์ และคณะ. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วินัย รัตนเสถียร. ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านสะท้อน. (28 มีนาคม 2564). สัมภาษณ์

สุชัณษา รักยินดี. (2556). การพัฒนาบทเรียนวีดีทัศนเรื่องการเลนคียบอรดเบื้องตน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5 โรงเรียนดรุณาราชบุรี. วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภาพร ฉิมหนู. (2564). Play and Sing Melody Book 1. สงขลา: เอเค อะเบิฟ