แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตนักดนตรีอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

อัครวัตร เชื่อมกลาง
ณัฐดนัย ศรีโท
ณัฐวุฒิ พฤกษะศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักดนตรีอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักดนตรีอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  research)  กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักดนตรีอาชีพ 256 ท่าน และผู้บริหารสถานประกอบการที่มีการจัดการแสดงดนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) พบว่า แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตนักดนตรี แบ่งเป็น 6 ประเด็นดังนี้ 1)ประเด็นเรื่องค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับการทำงาน มีความเป็นธรรม 2)ประเด็นเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลช่วยเหลือนักดนตรีไม่ให้ถูกเอาเปรียบ 3)ประเด็นเรื่องการทำงานให้มีค่าตอบแทนในวันลา 4)ประเด็นเรื่องสวัสดิการควรจัดตั้งองค์กรสวัสดิการนักดนตรีอาชีพอย่างเป็นรูปธรรม 5)ประเด็นเรื่องนโยบายรัฐบาลควรเอื้ออำนวยกับนักดนตรี หลังจากเหตุการณ์โควิด 19 ควรมีนโยบายที่สนับสนุนเป็นหลักประกันให้กับอาชีพนักดนตรี 6)ประเด็นอื่น ๆ ควรมีการจัดหางานดนตรีให้เป็นกิจจะลักษณะทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนความเห็นของผู้บริหาร พยายามจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและสวัสดิการแก่นักดนตรี ในด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ช่วยพลักดันอาชีพนักดนตรีให้เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง และให้ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งตนเองและครอบครัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมพล แป้นจันทร์. (2559). ภาษา-ครู-ยาเสพติด-โอกาส-วัฒนธรรม” อุปสรรคบนเส้นทางการศึกษาของนักเรียน 3 จังหวัดใต้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2562. แหล่งที่มา: http://news. thaipbs.or.th/content/254297.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์ และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ธิดาพร สันดี. (2564). ผลกระทบ และการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในกลุ่มอาชีพนักดนตรี. วารสารจันทรเกษมสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 27 (2), 298.

ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี. (2558). สหภาพดนตรี: มาทำความรู้จักกับสหภาพของวงการดนตรีก่อน ตอนที่ 1. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2562. แหล่งที่มา: https://www.fungjaizine.com/article/ guru/musicunion1

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

ราเชนทร์ เหมือนชอบ. (2550). นักดนตรี : ชีวิตบนวิถีการพัฒนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการวิจัยและพัฒนาเมือง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Huberman, A. M., & Mile, M. B. (1994). Data management and analysis methods. In N.K. Denzin & Y. S. Lincoln (Eds.). Handbook of Qualitative Research (413-427). Thousand Oaks, CA: Sage.