การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา ยุคดิจิทัลในสหวิทยาเขตทุ่งหินเทิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษายุคดิจิทัล 2) ศึกษาแนวทางการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษายุคดิจิทัล ในสหวิทยาเขตทุ่งหินเทิน ประชากร คือ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนในสหวิทยาเขตทุ่งหินเทิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ รวมทั้งหมด 321 คน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 7 คน เลือกแบบเจาะจง และครู จำนวน 174 คน โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน รวมทั้งหมด 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษายุคดิจิทัลในสหวิทยาเขตทุ่งหินเทิน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
2. แนวทางในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษายุคดิจิทัล ในสหวิทยาเขตทุ่งหินเทิน พบว่าผู้บริหารควรดำเนินการดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ควรจัดทำแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์และพัฒนาทักษะผู้บริหาร ครูและบุคลากรของสถานศึกษา 2) ด้านบุคลากร ควรคัดเลือกบุคลากร โดยใช้คนให้ถูกกับงาน 3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ควรสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นที่ชัดเจน 4) ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรจัดทำหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะดิจิทัลแบบผสมออนไลน์ ออนไซต์ ออนแอร์ และออนดีมานด์ และ 5) ด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ควรพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารและการประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลายช่องทาง
Article Details
References
กวินตรา ซ้วนลิ้ม. (2560). ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 23 (3), 171-189
ชัยยา บัวหอม (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของบุคลากรโรงเรียนน้้าเกลี้ยงวิทยา.รายงานการวิจัยโรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยา อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษสำนักการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
ชินกรณ์ แก้วรักษา. (2554). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.
ฐิติมา ธะนะศรี. (2554). สภาพและปัญหาการปฏิบัติตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ทิพวัลย์ นนทเภท. (2557). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
นงเยาว์ ขัติวงษ์. (2562). การศึกษาช่องทางการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาต่อ ในระดับปริญญาตรี ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานการวิจัยกองประชาสัมพันธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พนมฉัตร คงพุ่ม. (2563). การศึกษาความพึงพอใจต่อเฟซบุ๊กมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานการวิจัยกองประชาสัมพันธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มนตรี สังข์โต. (2554). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานโรงเรียน .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วราภรณ์ ปรีเจริญ. (2557). การศึกษาการบริหารงานประชาสัมพันธ์โรงเรียนบางบ่อวิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศึกษาธิการ,กระทรวง. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย.
ศึกษาธิการ,กระทรวง. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
ศึกษาธิการ,กระทรวง. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
สันติภาพ กั้วพรหม. (2562). การศึกษาเพื่อประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการการจัดการงานวิศวกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
ศึกษาธิการ,กระทรวง. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวดี เสนีย์วงค์ ณ อยุธยา (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานสถานศึกษาต้นแบบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อรอุษา ปุณยบุรณะ (2558). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสาธิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: http://pracharathschool.go. th/skill/detail/52232.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.