การวิเคราะห์องค์ประกอบอุปสรรคของการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการภายนอก ที่พักอาศัยของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเกี่ยวกับอุปสรรคการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกที่พักอาศัยของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเกี่ยวกับอุปสรรคการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกที่พักอาศัยของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 -79 ปี ด้วยเทคนิคแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) และเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่าง 10 เท่าของตัวแปรตามตามกฏแห่งความชัดเจน (Rule of Thumb) (Hair, Black, Babin and Anderson,2010 : 45) จำนวน660 คน ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และจำนวน 530 สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเรื่องอุปสรรคการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกที่พักอาศัยของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีค่าความเชื่อมั่นในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเท่ากับ 0.95 และ0.94 สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ การวิเเคราะห์ด้วย วิธี Maximum Likelihood  (ML) ผลวิจัยพบว่า (1) อุปสรรคการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกที่พักอาศัยของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครมีจำนวน 10 องค์ประกอบได้แก่ การรับรู้ข้อมูลบริการนันทนาการ ความสามารถทางกาย การตระหนักรู้การใช่เวลาว่าง ทัศนคติต่อการใช้เวลาว่างนอกที่พักอาศัย การเงิน ความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย การตระหนักรู้ในตนเอง ประสบการณ์การใช้เวลาว่าง สิ่งอำนวยความสะดวก และข้อปฏิบัติในการเข้าร่วม รวมทั้งสิ้น 49 ตัวแปร (2) ความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Mนdel Fit) และทำการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Assessment of Model Fit) พบว่า ค่าไคสแแควร์เท่ากับ 4466.84  ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.00 (p = 0.00) โครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-สแควร์/df เท่ากับ 4.40 และค่าดัชนี SRMR เท่ากับ 0.099 มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ แสดงว่ายอมรับสสมติฐานหลักที่ว่าโมเดลสมาการโครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ ค่า RMSEA เท่ากับ 0.800 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์พอใช้ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนนันนทนาการแห่งชาติ ฉบับที่๓ (พ.ศ ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562. แหล่งที่มา:https://www.mots.go.th/download /PolicyStrategy/ DraftNationalRecreationalDevelopmentPlan2560-2564.pdf

แววดาว พิมพ์พันธ์ดี และคณะ. (2562). วิเคราะห์องค์ประกอบของความแข็งแกร่งในชีวิตผู้สูงอายุในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 20 (1), 77-89.

ศรีเรือน แก้งกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). จำนวนประชากรแยกรายอายุ กรุงเทพมหานคร เดือนธันวา พ.ศ. 2560. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562. แหล่งที่มา: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew /upstat_age_disp.php

อาชัญญา รัตนอุบล. (2559). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Edginton, Christopher R., Hanson, Carole J., Ediginton, Susan., Hudson, Susan H. (1998). Leisure Programing A Service – Centered and Benefit Approach. USA: The McGraw-Hill.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). NJ: Prentice Hall.

Ji H. (2006). Leisure Constraints of the Married Korean Females. 9th World Leisure Congress Book of Abstracts. 16 October 2006. Hangzhou.

Mcguire, A. Francis, Boyd, K. Rosangela and Tedrick, E. Raymond. (2004). Leisure and Aging ulyssean living in later life. IL. Sagamore publishing.

Robert, Ken. (2006). Leisure in Contemporary Society. MA: CABI

Tsai E.H. (2006). Constraints to Active Recreation Participation of Older People in Hong kong. 9th World Leisure Congress Book of Abstracts. 16 October 2006. Hangzhou.