ภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

พรทิพย์ อันสีเมือง
สุภาวดี ลาภเจริญ

บทคัดย่อ

         การพัฒนามนุษย์ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย และสติปัญญา เพื่อพัฒนาประเทศต้องอาศัยการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะผู้นำในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จะต้องมีภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายเพื่อนำพาสถานศึกษาไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และวิทยฐานะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ 0.60 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t- test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’)
        ผลการวิจัยพบว่า
        1. ภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
         2.ข้าราชการครูที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และวิทยฐานะในการทำงานต่างกัน มีทัศนะต่อภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

จิรัฎฐ์ ไพสิฐสกุลเกตุ. (2560). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. การศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยสันตพล.

เบญจมาภรณ์ สอนวัฒนา. (2562). ภาวะผู้นำที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา. 16 (74), 154-167.

พวงเพ็ญ เขียวเสน. (2561). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ธัญชนก บุญทอง. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ภูมิภัทร สุวรรณศรี. (2560). ภาวะผู้นำเชิงวิถีเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆณฑลจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรุจ วรดล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ศิรัญญา ชูศรีทอง. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2564). ข้อมูลสารสนเทศปีการศึกษา 2564. กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานฯ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2562). รายงานผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ปีการศึกษา 2562.

สุดารัตน์ นารอยี. (2564). ภาวะผู้นำตามวิถีทางและเป้าหมายของผู้บริหารสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ 12, 958-975.

สุธิษา ทองนอก. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 จังหวัดสระแก้ว. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

สุรกิจ สิอื้น. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำ ผู้บริหารสตรีของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรีย์พร ฟากฟื้น. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1 (3), 27-40.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th Ed.). NewYork: Routledge.

House, R. J., & Desslar, G. (1974). The path-goal theory of leadership: some post hoc andAPRIORI tests. In J. G. Hunt & L. L. Larson (Ed.), contingency approaches to leadership, Carbondale: Southern Illionis University Press.