ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน ปัว 4 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน ปัว 4 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 10 คน ครูผู้สอน 90 คน ศึกษานิเทศก์ประจำกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน ปัว 4 จำนวน 1 คน รวม 101 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน ปัว 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ 2) ข้อเสนอนโยบายการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน ปัว 4 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 เป็นนโยบายระดับเฉพาะกิจ ประเภทมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) จุดมุ่งหมายเพื่อให้กลุ่มเครือข่ายโรงเรียน ปัว 4 เปิดโอกาสให้คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมและภารกิจทุกอย่างที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียน และ (2) แนวปฏิบัติตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ 7 ด้าน คือ 1. ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2. ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3. ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4. ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5. ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 6. ด้านการนิเทศภายใน และ 7. ด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน โดยทั้ง 7 ด้านโรงเรียนควรมีการประชุม วางแผน วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เป็นความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ แล้วสังเคราะห์เป็นข้อมูลพื้นฐานที่นำไปสู่การปฏิบัติ มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องพร้อมนำไปวางแผนการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนในปีต่อไป
Article Details
References
กมลรัตน์ แก่นจันทร์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning : การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร. 19 (1), 11
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิมเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชฎาพร โฉมประเสริฐ. (2562). สื่อการเรียนรู้ร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงในการประยุกต์ร่วมกับรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 8. นนทบุรี พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ทองจันทร์ เติมจิตร. (2562). มาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร. 12 (5), 415-435.
นิวัฒน์ โสพันนา. (2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
นิษฎาพร พรหมวัชรานนท์. (2561). สภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เบญจภรณ์ จิตรู. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยาย โอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พรนภา บุราณรมย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รุ่งเรือง ไตรณรงค์. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตลาดพร้าว. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สมาน กลมกูล. (2559). ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
สุวรรณา พงษ์ผ่องพูล. (2558). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
แสงดาว ถิ่นหารวงษ์. (2558). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติในรายวิชาวรรนคดีสำหรับเด็ก. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. 17 (1), 4
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยังคณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการวิจัยการพัฒนาการศึกษานานาชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. (2563). ข้อมูลผลสอบ O-NET ปีการศึกษา 2563.
อติศักด์ สุดเสน่หา. (2563). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
โอภาส วุฒิเศลา. (2563). การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 11 (2), 5
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.