การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา

Main Article Content

ปิยะ ศักดิ์เจริญ

บทคัดย่อ

          การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนามนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21 ที่กระบวนการเรียนรู้มีความหลากหลายมากกว่าการมานั่งเรียนในห้องสี่เหลี่ยม เป็นการแสวงหาความรู้ที่ไม่มีขอบเขตและข้อจำกัดใดๆ  ในขณะเดียวกันวิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็เป็นตัวเร่งและตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการพลักดันให้การเรียนรู้ไม่ถูกจำกัดแค่ในห้องเรียนอีกต่อไป ประกอบกับการที่สังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ซึ่งเป็นสภาวะที่การเจริญพันธุ์ลดลงอย่างรวดเร็ว เด็กเกิดน้อยแต่ผู้สูงอายุกลับอายุยืนยาวมากขึ้น สถาบันการศึกษาในทุกระดับได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากเหตุผลดังกล่าวแนวคิดการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตจึงเข้ามาช่วยตอบโจทย์ของสังคมในปัจจุบัน การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลในทุกช่วงอายุจะช่วยให้เกิดการพัฒนาตนเองและสังคมได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ เด็กและเยาวชนสามารถเรียนรู้ได้ตามที่ตนเองสนใจ ผู้ใหญ่และวัยเกษียณก็เรียนรู้ในการดูแลสุขภาวะของตนเอง เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการช่วยเหลือตนเอง ลดการพึ่งพาลูกหลานลง สิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน มหาวิทยาลัยรามคำแหงในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยของปวงชนที่รับใช้สังคมไทยมากว่าครึ่งศตวรรษ จำเป็นต้องปรับตัวให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การมีจุดแข็งเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบตลาดวิชานับว่ามีส่วนช่วยในการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2565). ครม.เห็นชอบแนวทางการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ผลิตหลักสูตรที่ยืดหยุ่น ยกระดับนวัตกรรมการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: https://prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/73409

กระทรวงการอุดมศึกษา. (2563). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562.. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.mhesi.go.th/index.php/all-legal/74-act/2150-2562.html

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.moe.go.th/พระราชบัญญัติพื้นที่/

กล้า ทองขาว. (ม.ป.ป.). มหาวิทยาลัยเปิด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.dpu.ac.th/ces/upload/km/1377584890.pdf

ข่าวรามคำแหง. (2553). อธิการบดีให้โอวาทในการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2553. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา http://www.info.ru.ac.th/Vol40/08_40.pdf

คณะกรรมการองค์ความรู้ขององค์กร สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง (สวป. มร.). (2565). องค์ความรู้ของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เรื่อง การบริการงานทะเบียนการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา http://www.regis.ru.ac.th/document/2022_KM65.pdf

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2564). แบบไหนถึงจะเป็น Sandbox?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.thansettakij.com/general-news/476035

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). แนวปฏิบัติเรื่อง แนวทางการเข้าร่วมทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sandbox). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/ 2562/ThaiPDF/25620036.pdf

ธเนศน์ นุ่นมัน. (2561). รามคำแหงเรียนระบบเปิด ไม่กระทบวิกฤตไร้ผู้เรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.posttoday.com/politic/report/568399

นรพัชร์ อัศววัลลภ (2565). พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดศรีสะเกษ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา http://www.fpojournal.com/srisaket-education-innovation/

ประชาชาติธุรกิจ. (2565). ม.รามคำแหง รับนักศึกษาใหม่ คนเรียนไม่จบกลับมาเรียนต่อ ได้ส่วนลด 50%. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/ education/news-917386

ระบบสารสารสนเทศ STEMPlus (อว.). 2565. โครงการพัฒนากำลังคนภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา https://stemplus.or.th/development

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2563). นโยบายสถานศึกษาเปิด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/นโยบายสถานศึกษาเปิด

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562). การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong education). วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย. 14 (26), 159-175.

ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเรื่อง แนวทางการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https://ratchakitcha2. soc.go.th/pdfdownload/?id=17110396

ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2563). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเรื่อง แนวทางการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ฉบับที่ 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https:// ratchakitcha2.soc.go.th/pdfdownload/?id=17137186

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). 2565. ครม. มอบ สภานโยบายฯ ลุยจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา Higher Education Sandbox เดินหน้าชวน มหา’ลัย ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนให้ทันกับบริบทโลกที่เปลี่ยนไป. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา https://www.nxpo.or.th/th/9970/

สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน, ชุติมา ชุมพงศ์. (2561). โรงเรียนอิสระในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.matichon.co. th/columnists/news_1092807

สํานักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล มหาวิทยาลัยรามคําแหง (สวป. มร.). (2560). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2560. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.regis.ru.ac.th/index.php/regulation60/72-regulation_articles

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (มปป.). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2565. แหล่งที่มา https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/ files/2016/09/20160908101755_51855.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564 ก). ดัชนีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย พ.ศ.2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: http://www.onec.go.th/th.php/ book/BookView/1879

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564 ข). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: http://www.onec.go. th/th.php/book/BookView/1885

สุบิน ไชยยะ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และ ปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2558). ทักษะที่จำป็นต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย : กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี. วารสาร สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 21 (3), 149-176.

สุมาลี สังข์ศรี. (2544). รายงานการวิจัย การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทย ในศตวรรษที่ 21. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: http://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/772

สุมาลี สังข์ศรี. (2557). การวิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในบริบทประเทศไทย, ใน สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล (บ.ก.), การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต. (น. 205-226). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี วิมลศิลป์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยตลาดวิชา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 12 (1), 31-45.

อุดม เชยกีวงศ์. (2551). การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

เอกพงษ์ หริ่มเจริญ. (2564). ที่มาของ ‘Sandbox’ ศัพท์เล็กๆ ที่เติบโตในแวดวงคอมพิวเตอร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/

Department of Education, Skills and Employment, Australian Government. (2015). Higher Education: Thailand. Online. Access on 3 September 2022. Retrieve from https://internationaleducation.gov.au/International-network/thailand/PolicyUpdates-Thailand/Documents/Thailand%20Education%20Policy%20Update_HE_FINAL.pdf

Oliver S Crocco. (2018). Thai Higher Education: Privatization and Massification. Online. Access on 3 September 2022. Retrieve from https://www.academia.edu/37936958/ Thai_Higher_Education_Privatization_and_Massification

Campus-Star. (2562). 8 มหาวิทยาลัยไทย ที่มีค่าเทอมถูกที่สุด – เลือกเรียนต่อทีไหนดี ?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https://campus.campus-star.com/ education/139408.html

Campus-Star. (2564). อว. แบ่ง 5 กลุ่มมหาวิทยาลัย ปีงบฯ 65 – สถาบันอุดมศึกษาไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https://campus.campus-star.com/education/ 147278.html

Kanokwan. (2564). Sandbox คืออะไร สำคัญอย่างไรในโลกธุรกิจ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://workpointtoday.com/what-is-sandbox/

Plook TCAS. (2560). มหาวิทยาลัยเปิด มหาวิทยาลัยปิด คืออะไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.trueplookpanya.com/blog/content/61115

SCB EIC (Economic Intelligence Center). (2565). Reskill/Upskill ทางรอดแรงงานไทยที่ยังไปไม่พร้อมกัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.scbeic.com/th/ detail/product/8269