การพัฒนาทักษะการวาดการ์ตูนคนโดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสายน้ำทิพย์

Main Article Content

พิชญดา ไชยดี
จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการวาดภาพการ์ตูนคนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการวาดภาพการ์ตูนคนของนักเรียน ก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการวาดภาพการ์ตูนคน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสายน้ำทิพย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย        1) แบบฝึกทักษะการวาดภาพการ์ตูนคนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบประเมินผลงาน (Scoring Rubric) 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ 5) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการวาดภาพการ์ตูนคน จำนวน 6 แผน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการวาดภาพการ์ตูนคนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.11/81.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวาดภาพการ์ตูนคน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีทักษะการวาดการ์ตูนคนที่ดีกว่าเดิม สามารถวาดสัดส่วนและส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายตัวการ์ตูนคนได้เหมาะสม วาดตัวการ์ตูนแสดงเพศ ช่วงวัย อารมณ์ความรู้สึกได้อย่างชัดเจน และแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวลักษณะต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการวาดภาพการ์ตูนคน มีค่าเฉลี่ย 4.60 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านที่ 3 ด้านทักษะความรู้ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ย 4.81 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เมธา หริมเทพาธิป. (2561). ทฤษฎีการเสริมแรงของสกินเนอร์ (Reinforcement theories of motivation). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2561. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/646482

จารุณี เนตรบุตร. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางศิลปะด้านการวาดภาพระบายสีระหว่างเด็กอายุ 9-12 ปี ที่มีภูมิหลังแตกต่างกันโดยใช้ทฤษฎีของวิคเตอร์โลเวนเฟลด์. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 5 (1), 7-20.

ธนิตย์ เพียรมณีวงศ์, และ วิสูตร โพธิ์เงิน. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานคร. Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ และฉบับ International Humanities, Social Sciences and arts.

ธีระยุทธ โพธิ์ทอง. (2557). ทฤษฎีการเรียนรู้ของไทเลอร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2561. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/thirayutg22/thvsdi-kar-reiyn-ru/thvsdi-kar-reiyn-ru-khxng-thi-lex-r

รัชนี ศรีไพรวรรณ. (2527). "แบบฝึกหัดทักษะวิชาภาษาไทยสำหรับเด็กแรกเรียน", คู่มือแนวความคิด และทรรศนะบางประการเกี่ยวกับกุศโลบายการสอนเด็กเริ่มเรียนที่พูดสองภาษา (Vol. 2). นครราชสีมา: สำนักงานศึกษาธิการ เขต 11.

วนิดา จึงประสิทธิ์. (2532). การบริหารและบริการงานโสตทัศนศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีระ ไทยพานิช. (2528). โสตทัศนศึกษาเบื้องต้น = Introduction to audio-visual education. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วีระ มณีรัตนะพร. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิธีวาดภาพการ์ตูนจากเส้นโครงร่างพื้นฐาน : รายงานการวิจัย = The development of cartoon drawing method skill exercises from basic body constructions. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

สิทธิพร กุลวโรตมะ. (2550). ตวัดเส้นเป็นการ์ตูนรูปคน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเด็ก.

สุระชัย กุลบุตร. (2560). การพัฒนาชุดฝึกทักษะ เรื่อง การวาดภาพระบายสีน้ำ วิชาทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2561 แหล่งที่มา: http://webboard.guru.sanook.com/ forum/?topic=5897182

อรอนงค์ ฤทธิ์ฤาชัย. (2548). "ผิดหรือไม่ที่เด็กๆจะวาดแต่ภาพการ์ตูน". วารสารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13 (1), 11-16.