ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์ COVID-19 : เด็กปฐมวัย

Main Article Content

วาธิณี วงศาโรจน์
ภาสกร ดอกจันทร์

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์ COVID – 19 ของครอบครัวที่มีเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเด็กปฐมวัย เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) และ มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่ยังไม่สามารถปรับตัวหรือช่วยเหลือตนเองได้ จึงส่งผลให้ครอบครัวที่มีเด็กปฐมวัยได้รับผลกระทบทางเศษฐกิจและสังคมอย่างแน่นอน นอกจากนี้เด็กปฐมวัยยังนับว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติที่จะเติบโตเป็นบุคลากรสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญและการช่วยเหลือครอบครัวที่มีเด็กปฐมวัย โดยต้องมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมเด็กปฐมวัยในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย ซึ่งการจะนำแนวทางไปปฏิบัติให้สำเร็จได้นั้นเป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่ายในสังคมตามกระบวนการทำงานร่วมกัน และกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย ผ่านระบบและกลไกการบริหารเชิงนโยบายให้สามารถขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ผ่านกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือสนับสนุนและพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2564). รายงานการสำรวจการประเมินผลกระทบเบื้องต้นของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทยต่อการให้บริการในคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC). ฉบับเดือนสิงหาคม 2564.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานการใช้บริการสาธารณสุข โปรแกรม Health Data Center. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/main/index_pk.php.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และ วันนิสาห์ แก้วแข็งขัน. (2561). รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2560. นนทบุรี : กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรอมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ และ ปิยะกมล มหิวรรณ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชน และ การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารมหาจุฬานาครทรรน์. 7 (9), 40-55.

บุญเลิศ วิเศษปรีชา และคณะ. การสำรวจคนไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือน กรกฎาคมถึงสิงหาคม 2563.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและองค์การยูนิเซฟ. (2563). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อครอบครัวเปราะบาง. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). โครงการสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: http://ittdashboard.nso.go.th/covid 19survey.php

องค์การยูนิเซฟ. (2564). รายงานรวบรวมผลกระทบทางเศรฐกิจและสังคมของการระบาดโรคโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

Huebener, M., Waights, S., Spiess, C. K., Siegel, N. A., & Wagner, G. G. (2021). Parental well- being in times of Covid-19 in Germany. Rev Econ Household, 19, 91-122. https://doi.org/10.1007/s11150-020-09529-4