การเข้าถึงการประกันสังคมของกลุ่มแรงงานต่างด้าว : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ แรงงานต่างด้าวในระบบและนอกระบบ ในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณัฏฐณิชา ไชยพิศ
อจิรภาส์ เพียรขุนทด

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มุ่งศึกษาการเข้าถึงการประกันสังคมของแรงงานต่างในจังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงการประกันสังคมของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงการประกันสังคมของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดชลบุรี โดยเป็นวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ และใช้การสัมภาษณ์เบื้องลึกที่มีลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง โดยมีการกำหนดรูปแบบข้อคำถามแบบปลายเปิด เพื่อให้ผู้ให้ข้อมูลสามารถแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามได้อย่างอิสระ โดยมีผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 28 คน ได้แก่ 1) กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ประกันตน จำนวน 10 คน 2) กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ไม่เป็นผู้ประกันตน จำนวน 10 คน 3) เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม จังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง จำนวน 4 คน และ 4) นายจ้าง/ผู้ประกอบการ จำนวน 4 คน
           ผลการศึกษา พบว่า แรงงานต่างด้าวทั้งที่เป็นผู้ประกันตนและไม่เป็นผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงการประกันสังคมได้ โดยมี 5 ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงการประกันสังคม ได้แก่ 1) การเข้าถึงแหล่งบริการ 2) ความพอเพียงของการให้บริการ 3) การยอมรับคุณภาพของบริการ 4) ความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายของผู้รับบริการ 5) ความสะดวกและสิ่งอำนวยความสะดวกของแหล่งบริการ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงการประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว ได้แก่ 1) การขาดความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว และ 2) ความยุ่งยากในการขอรับสิทธิประโยชน์หรือเบิกเงินกองทุนประกันสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ประกันสังคม พร้อมดูแลแรงงาน 3 สัญชาติ ย้ำต้องถูกกฎหมายเท่านั้น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/939653

จอมขวัญ ขวัญยืน. (2549). การศึกษาการจัดสวัสดิการแรงงานต่างด้าว : กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร (ISBN 974-14-3429-4). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.มณฑลี กปิลกาญจน์ และ นางสาววันใหม่ นนท์ฐิติพงศ์. (ม.ป.ป.). แรงงานนอกระบบ: ผลกระทบและความท้าทายในยุค COVID-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_ 30Mar 2021.aspx

ทีเอ็นเอ็น ออนไลน์. (2564). ประกันสังคมแรงงานต่างด้าว ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.tnnthailand.com/news/social/94773/

ธนิต โสรัตน์. (2564, 15 พฤศจิกายน). แรงงานต่างด้าว....ปัญหาซ้ำซากที่ซุกไว้ใต้พรม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565, จาก https://www.posttoday.com/economy/columnist/668201

ธีราพร ดาวเจริญ. (2559). การเข้าถึงสวัสดิการสังคมสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในอําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เบญจพร ทองมาก และวรวิทย์ มิตรทอง. (2564). การรับรู้สิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพและบัตรประกันสังคมในกลุ่มแรงงานต่างด้าว และบุคลากร ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 16 (1), 52-64.

ประพัฒชนม์ จริยพันธุ์ และคณะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2557). การพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ. ทุนอุดหนุนการวิจัย จากกองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม.

พรรษา ศิริมาจันทร์. (ม.ป.ป.). ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 3 สัญชาติในประเทศไทย [ไฟล์ PDF]. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/2019/09/ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย.pdf

สาทิณี ศิรไพบูลย์. (2561). การคุ้มครองทางสังคมและสิทธิประโยชน์ประกันสังคม สำหรับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ. วารสารวิจัยสังคม. 41 (2), 97-140.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 [ไฟล์ PDF]. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.nesdc. go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2564). สถานการณ์แรงงานต่างด้าว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.doe.go.th/prd/alien/statistic/param/site/152/cat/82/sub/76/pull/ sub_category/view/list-label

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (ม.ป.ป.). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคนต่างด้าว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www3.mol.go.th/academician/basic_alien

สิริโฉม พรหมโฉม. (ม.ป.ป.). การทำงานของคนต่างด้าว หรือแรงงานข้ามชาติ [ไฟล์ PDF]. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564. http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/ Image/b/k120%20jun_12_1.pdf

สุธิดา แจ้งประจักษ์. (2563). สวัสดิการสังคมไทยในกระบวนการพัฒนา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9 (2), 315-328.