การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์ โควิด-19 เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

อัจฉริยาภรณ์ รณภพรัตนกุล
อาทร นกแก้ว

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 (2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 และ (3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอแม่วงก์จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ (4) แบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาวิเคราะห์แบบสะท้อนเพื่อสังเคราะห์แนวทาง ผลการวิจัย พบว่า (1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาและนำเสนอปัญหา ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 3 กำหนดกรอบการศึกษา ขั้นตอนที่ 4 มอบหมายความรับผิดชอบ และขั้นที่ 5 สรุป นำเสนอ และประเมินผล โดยผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้ 2 แนวทาง ดังนี้ 1 แนวทางการเตรียมความพร้อมก่อนและระหว่างการจัดการเรียนรู้ และ 2 แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์อยู่ในระดับพอใช้ (M=1.50, S.D.=0.76) และ (3) เจตคติต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.38, S.D.=1.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชญาภา ใจโปร่ง. (2554). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เลือกใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชลธิชา ใจพนัส (2556). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6 (3), 286-304.

ธรรมรัตน์ แซ่ตันและคณะ (2564). ความพร้อมต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของนักศึกษาภายใต้สถานการระบาดไวรัส COVID-19: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 3 (1), 23-37.

นภารัตน์ แร่นาค. (2019). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21 (3), 102-112.

ปภัสรา แจ่มใส (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 12 (2), 107-125.

ยุภารัตน์ พืชสิงห์ และ กัญญารัตน์ โคจร (2565). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 16 (1), 40-52.

วุฒิชัย ภูดี (2563). การสอนคณิตศาสตร์ในยุคดิจิทัล: วิธีการและเครื่องมือ. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 3 (2), 190-199.

วริศรา อ้นเกษ. (2019). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21 (2), 285-296.

สุคนธรัตน์ สร้อยทองดีและ นริศา กลกิจสุวรรณ (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (2), 52-62.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2008). Mathematical skills and processes. Bangkok: Charoen Printing 1992.