ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรและนวัตกรรม แบบเปิดของร้านอาหารในประเทศไทย

Main Article Content

สันติ กระแจะจันทร์
ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธุ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่อง ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรและนวัตกรรมแบบเปิดของร้านอาหารในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาว่าภาวะผู้นำเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการมุ่งเน้นการเรียนรู้และความสามารถในการดูดซึมความรู้และเทคโนโลยีของร้านอาหารในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร 2) เพื่อศึกษาว่าการมุ่งเน้นการเรียนรู้และความสามารถในการดูดซึมความรู้และเทคโนโลยีขององค์กรส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของร้านอาหารในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร 3) การมุ่งเน้นการเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการดูดซึมความรู้และเทคโนโลยีขององค์กรส่งผลต่อนวัตกรรมแบบเปิดของร้านอาหารในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร 4) เพื่อศึกษาว่าความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรส่งผลต่อนวัตกรรมแบบเปิดของร้านอาหารในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร 5) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเปลี่ยนแปลง การมุ่งเน้นการเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการดูดซึมความรู้และเทคโนโลยีขององค์กรและความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรที่ส่งผลต่อนวัตกรรมแบบเปิดของร้านอาหารในประเทศไทย 6) เพื่อสร้างแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรและนวัตกรรมแบบเปิดของร้านอาหารในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) คือการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเจ้าของร้านหรือผู้จัดการแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) นำมาสร้างเป็นตัวแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง และการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ด้วยการส่งแบบสอบถามให้กับผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย จำนวน 510 คน  แล้วนำคำตอบที่ได้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) เพื่อยืนยันตัวแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างที่พัฒนาขึ้น  และทำการยืนยันผลที่ได้รับอีกครั้งด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านอาหารในประเทศไทย จำนวน 10 คน แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับ ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตามที่ได้คำนวณจากโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง (SEM)
           ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นเจ้าของหรือผู้บริหารของร้านอาหารในประเทศไทย  เป็นเพศหญิง ร้อยละ  56.3  เป็นเพศชาย ร้อยละ  43.7   ส่วนมากมีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี คิดเป็นร้อยละ  30.6 ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้บริหารของร้านอาหารส่วนใหญ่ สำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 63.9  และมีตำแหน่งเป็นเจ้าของ/ผู้ถือหุ้น จำนวน 242 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5 รองลงมาคือ ตำแหน่งผู้จัดการ จำนวน 162 คน จากการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อการมุ่งเน้นการเรียนรู้ขององค์กรและมีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูดซึมความรู้และเทคโนโลยีขององค์กรขององค์กร 2) การมุ่งเน้นการเรียนรู้ขององค์กรมีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร และ มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมแบบเปิดขององค์กร 3) ความสามารถในการดูดซึมความรู้และเทคโนโลยีขององค์กรมีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร และ มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมแบบเปิดขององค์กร 4) ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรมีอิทธิพลต่อนวัตกรรมแบบเปิดขององค์กร 5) ภาวะผู้นำเปลี่ยนแปลง การมุ่งเน้นการเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการดูดซึมความรู้และเทคโนโลยีขององค์กรและความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรมีอิทธิพลต่อนวัตกรรมแบบเปิดของร้านอาหารในประเทศไทยในระดับมาก


           

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทศพร บุญวัชราภัย, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ และ ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์. (2559). ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรและนวัตกรรมบริการของโรงแรมบูติกไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9 (3), 1242-1259.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). บทความออนไลน์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2562. แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/NIAThailand/posts/838827629487898/

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2558). ยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2562. แหล่งที่มา: http://www.tiger.co. th/integrated.php

อดิศร ณ อุบล. (2558). การพัฒนาแนวทางส่งเสริมนวัตกรรมแบบเปิดในกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. แหล่งที่มา.https://www.academia.edu/30011805/Open_Innovation_in_ the_Innovation_Processes_of_Software_Industry_in_Thailand

Andriopoulos, C., & Lowe, A. (2000). Enhancing organizational creativity: The process of perpetual challenging. Management Decision. 38 (10), 734-742.

Chaveerug A and Ussahawanitchakit P (2008). Learning Orientation, Innovation Capability and Organization Performance in Thai Audit Firms: Moderating Effect of Organization Climate and Uncertainty Environment. Review of Business Research. 8 (2), 92-102.

Cohen, Wesley M., & Levinthal, Daniael A. (1990). Absorptive capacity: A new perspective on learning and innovation. Administrative Science Quarterly. 35 (1), 128-152.

Cruz, A. P. (2011). Knowledge Sharing and Competitiveness of Professional Service Firms: A Case Study. (Doctor of Philosophy, Applied Management and Decision Sciences), Walden University.

Gong, Yaping & Huang, Jia-Chi & Farh, Jiing-Lih. (2009). Employee Learning Orientation, Transformational Leadership, and Employee Creativity: The Mediating Role of Employee Creative Self-Efficacy. Academy of Management Journal. 52, 10.54-65/AMJ.2009.43670890.

Guedes, H.D., Ziviani, F., Paiva, R.L., Ferreira, M., & Herzog, M.M. (2017). Assessment of absorptive capacity: a study in Brazilian manufactures of solar panels. Gest. Prod. [online]. 2017, vol.24, n.1, pp.50-63. Epub Feb 23, 2017. ISSN 0104-530X. https://doi.org/10.1590/0104-530x2666-16.

Hjalager, A.-M. (2010) Progress in Tourism Management: A Review of Innovation Research in Tourism. Tourism Management, 31, 1-12. http://dx.doi.org/10.1016/j.tourman. 2009.08.012

Howkins, J. (2008). What are Creative Economies? And Why? In Creative Thailand. Bangkok: Thailand Creative & Design Center (TCDC). p.21-25.

Loewenberger P. (2016). Human Resource Development, Creativity and Innovation. In: Shipton H., Budhwar P., Sparrow P., Brown A. (eds) Human Resource Management, Innovation and Performance. Palgrave Macmillan, London.

Lüttgens, Dirk & Erkens, Marc & Wosch, Susanne & Piller, Frank. (2013). Measuring open innovation: A toolkit for successful innovation teams. Performance. 6.

Mehdi Bagherzadeh ,StefanMarkovic ,JimCheng , and Wim Vanhaverbeke, 2020. How Does Outside-In Open Innovation Influence Innovation Performance? Analyzing the Mediating Roles of Knowledge Sharing and Innovation Strategy. Ieee Transactions On Engineering Management. 67 (3), 182-205.

Piteira, M. (2013). Professions in a changing world: The role of creativity. International Sociological Association. ISA RC52 Interim Conference, Technical University of Lisbon, Protugal : 28-30

Rehman, Wasim & Ilyas, Muhammad & Asghar, Nabila. (2015). KNOWLEDGE SHARING, KNOWLEDGE MANAGEMENT STRATEGY AND PERFORMANCE A Knowledge Based View. Pakistan economic and social review. 53. 177-202.

Schepers, P. & Berg, P. (2006). Social factors of work-environment creativity. Journal of Business and Psychology. 21 (3), 407–428.

Seidel, S., & Rosemann, M. (2008). Creativity management - The new challenge for BPM. Business Process Trends: 1-8. Centre of Excellence for Creative Industries and Innovation. Accessed in October 12, 2014 Available from: www.bptrends.com

Senge, P.M. (1990). The fifth discipline :The art and practice of the learning organization. London: Century Press.

Shalley, C. E., Zhou, J., & Oldham, G. R. (2004). The effects of personal and contextual characteristics on creativity: Where should we go from here?. Journal of Management 30. (6), 933-958.

Shin, S. J., & Zhou, J. (2003). Transformational leadership, conservation and creativity: Evidence from Korea. The Academy of Management Journal. 46 (6), 703-714.

Sinkula, J. M., Baker, W. E., & Noordewier, T. (1997). A framework for market-based organizational learning: Linking values, knowledge, and behavior. Journal of the Academy of Marketing Science. 25 (4), 305–318. https://doi.org/10.1177/0092 070397254003