แนวทางการบริหารจัดการห้องสมุดยุคใหม่ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Main Article Content

พลอยธัญญา ปภาพิชญ์ธนันท์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการห้องสมุดยุคใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการจำเป็นในการใช้งานของนักศึกษา และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการห้องสมุดยุคใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการจำเป็นในการใช้งานของนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Methods Research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้การสุ่มตัวอย่างจากตารางของ Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W, (1970 : 607-610) จะได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาแพทย์ จำนวนทั้งสิ้น 201 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการห้องสมุด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ และด้านการให้บริการ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำข้อมูลมาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และเก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ใช้การแจกแจงความถี่และการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำมาเป็นแนวทางการบริหารจัดการห้องสมุดยุคใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการจำเป็นในการใช้งานของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมในปัจจุบันของการบริหารจัดการห้องสมุดทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการห้องสมุดยุคใหม่ เพื่อตอบสนองการใช้งานของนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ที่มีค่ามากที่สุด คือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ รองลงมาคือ ด้านการให้บริการ  ด้านอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ ด้านบุคลากร ตามลำดับ และนำแนวทางการบริหารจัดการห้องสมุดยุคใหม่ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 3 ข้อ  จากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน เพื่อนำไปปรับปรุงให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพย์วัลย์ ตุลยะสุข. (2549). แนวทางการจัดบริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยยุคใหม่. บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มข. 24 (1-3), 1-13.

ณัฏฐญา เผือกผ่อง, ดวงใจ กาญจนศิลป์ และ ขวัญแก้ว เทพวิชิต. (2559). ความต้องการและพฤติกรรมการใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. รายงานวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. (2564). จำนวนนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ปีการศึกษา 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www. regsection.nmu.ac.th

พรพรรณ จันทร์แดง. (2557). ห้องสมุดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

มะลิวัลย์ สินน้อย และ อนวัช กาทอง. (2561). การรู้สารสนเทศ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. PULINET Journal. 5 (1), 82-91.

วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ. (2543). การจัดและบริหารงานห้องสมุด. กรุงเทพมหานคร : ศิลปาบรรณาคาร.

วาสนา ป้องพาล. (2555). ห้องสมุดยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ. (2551). การบริหารจัดการห้องสมุดยุคใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา http://www.gotoknow.org/posts/209675

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Best, John W. (1970). Research In Education. (2nd ed.). Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. (3rd ed.). New York: Wiley & Son.