การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน

Main Article Content

ฐานพัฒน์ ไกรศร
อดุลย์ วังศรีคูณ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 23 และครูผู้สอนจำนวน 191 คน ที่สังกัดโรงเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน รวมจำนวนทั้งสิ้น 214 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA)
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสรุปผลการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา
          2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จิตรวรรณ รุ่งเรืองกุล. (2563). การบริหารหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ธงชัย ช่อพฤกษา (2548). การบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

นพเก้า ณ พัทลุง. (2550). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. สงขลา: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บงกช ปิงเมือง. (2557). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุริวิยาสาส์น.

ปฏิญญา จริตไทย. (2559). การศึกษาการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2548). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วราทิตย์ บุญประสพ. (2562). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารหลักสูตรเสนาธิการทหาร วิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2545). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมืองดี. กรุงเทพมหานคร: อาร์ แอนด์ ปริ้นต์.

สงกรานต์ เรืองประทีป. (2559). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เสาวนีย์ นวลน้อย. (2560). การบริหารหลักสูตรในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา. วิทยาลัยครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อับดุลซอมัด เล็งฮะ. (2558). การบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.