ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เรื่องปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Main Article Content

กนกกร ทองน้อย
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  สังคม  และสิ่งแวดล้อม เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 1 ห้องเรียน จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เรื่องปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย และแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมาย
           ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนตามแนวคิดตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   และ (2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนตามแนวคิดตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติภูมิ มีประดิษฐ์. (2559). สร้างความตระหนักในสิ่งแวดล้อม เพื่อหยุดมรดกแห่งมลพิษ. ออนไลน์. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/152801/121374.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2557). การประเมินการคิดวิเคราะห์ในคิดวิเคราะห์: สอนและสร้างได้อย่างไร.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2557). ความหมายและขอบเขตของการคิดวิเคราะห์ในคิดวิเคราะห์: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครสวรรค์. (2563). การควบคุมสถานการณ์ไฟป่าใน อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครสวรรค์.

Bloom, B. S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-Hill.

Pedretti & Nazir.(2011). Currents in STSE education: Mapping a complex field, 40 years on. Science education. 95 (4), 601-626.

Richardson, G. H. & Blades, D. W. (2001). Social Studies and Science Education : Developing World Citizenship Through Interdisciplinary Partnerships. Retrieved from http://www.quasar.ualberta.ca/css/Css_35_3/ARDeveloping_world_citizenship. htm, January 26, 2010.