ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชัยเดช อารีศิริไพศาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา  1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา 2. ระดับการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 314 คน ซึ่งกำหนดสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.54, S.D. = 0.43) 2. ระดับการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.49) 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ด้านคุณลักษณะผู้บริหาร  ด้านบรรยากาศองค์กร ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ และด้านแรงจูงใจ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรทั้งสี่ร่วมกันพยากรณ์การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 67.50  ผลการวิจัยนี้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างพัฒนาให้มีประสิทธิภาพต่อการปฏิบัติงานในสถานศึกษา และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
          สมการพญากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
           = 0.649 + 0.425( ) + 0.357( ) + 0.260( ) + (- 0.173)( )
          สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
          = 0.417 ( ) + 0.336( ) + 0.254( ) + (-0.151) ( )

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิน แลวงค์นิล. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ (2561). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาระบบริหารงานบุคคลและนิติการ.

กุณฑล กระบวนรัตน์. (2564). การพัฒนาระบบบริหารจัดการการปฏิบัติราชการของบุคลากร. สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กันยาพร โคจรตระกูล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ทวีพริ้น.

ฐิตา ตันติพิบูลทรัพย์. (2564). โมเดลปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือก. ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นพดล ศิริทรัพย์. (2557). ระบบสารสนเทศกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิพนธ์ บุรณจันทร์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 5 (1), 105-115.

พรสวรรค์ สุขพรหม. (2565). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ไพชยนต์ ศรีม่วง. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.

รัตติยา วรกานต์ตระกูล. (2560). สภาพความเป็นจริงกับความคาดหวังของครูเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 จังหวัดเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเนชั่น.

วิทยา บุญละดี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ศศิวิมล คนเสงี่ยม. (2564). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8 (5), 205-216.

สุรีย์พร จิตรกิตติโชติ. (2562). จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุบัน พรเวียง. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. (2562). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สานักงานเลขาธิการคุรุสภา

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดกาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). มาตรฐานตาแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

หรรษธร บุญเกื้อ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูโรงเรียนอนุบาลบุญเกื้อวิทยา จังหวัดสระบุรี. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรกานต์ อ่อนศรี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.