สภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 234 คน จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 60 ข้อ ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6-1.0 และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe (Scheffe’s method)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
2. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพต่างกัน ผลมีดังนี้
2.1 ครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี มีความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาไม่ต่างกัน ยกเว้นด้านอาคารสถานที่ที่ครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
2.2 ครูที่มีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 5 ปี มีความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาด้านภาพรวม ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านบุคคลและด้านอาคารสถานที่สูงกว่าครูที่มีประสบการณ์การทำงานระหว่าง 5-10 ปีและ 10 ปีขึ้นไป
2.3 ครูที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มีความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาด้านภาพรวม ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านบุคคลและด้านอาคารสถานที่สูงกว่าครูที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่และขนาดกลาง
Article Details
References
กุลนภา เถระวรรณ. (2562). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ขวัญเรือน มุ่งผลกลาง. (2563). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 9 (2), 1-13.
ฐิติภา กาญจนาภรณ์. (2556). การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ในจังหวัดสระบุรีตามความคิดเห็นของครู. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 7 (2), 197-210.
เตือนใจ คล้ายแก้ว. (2560). แนวทางการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในจังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
บุญยวีร์ พัฒน์ธนกิตติโชค. (2559). สภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 8 (1), 37-51.
พรทิพย์ หลักเฉลิมพร. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พรเทพ รัตนติสร้อย. (2556). การมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พัชณียา หานะพันธ์. (2557). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2545). ประมวลการสอนชุดวิชาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัฐพงษ์ มั่นต่อ. (2564). แนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในยุคฐาน วิถีชีวิตใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร. 6 (10), 225.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. (2542)และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศาสนาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เอกกมล เยาวนา. (2552). ปัญหาและความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนเกี่ยวกับการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York : Harper Collins.
Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison, Keith. (2011). Research Method in Education. (7th ed). New York : Morrison.
Savasci, H. S., & Tomul, E. (2013). The relationship between educational resources of school and academic achievement. International Education Studies. 6 (4), 114.