การศึกษาสภาพและแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2

Main Article Content

นิฤมล วงค์อินพ่อ
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพของการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย และแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 โดยผู้วิจัยได้แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 2 ขั้น คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพของการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 217 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน โดยแบ่งเป็นผู้บริหาร 29 คน และครูผู้สอนเด็กปฐมวัย 188 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของผู้บริหาร และครูในแต่ละอำเภอ เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมภายในอาคารเรียน แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนเด็กปฐมวัยควรจัดสัดส่วนพื้นที่ของห้องเรียนให้เพียงพอต่อจำนวนเด็กตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ โดยคำนึงถึงขนาดของห้องเรียนและพื้นที่ใช้สอย เลือกใช้ฝาผนังกั้นห้องเรียนแบบเบาที่สามารถเลื่อนได้ เพื่อสะดวกในการสังเกตเด็กขณะอยู่ในห้องเรียน จัดห้องเรียนให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เหมาะสมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน และมีความปลอดภัยต่อเด็ก                               

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี).

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กมลวรรณ ลิมปนาทร. (2562). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอนชุดวิชาการ

จัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 8-15. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช

เกศรา อะสะนิธิ. (2561). แนวทางการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนแม่แอบวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3. ปริญญานิพนธ์

การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ตฤณ หงษ์ใส, อัจฉรีย์ ไกรกิจราษฎร์, และณัฏฐพร จักรวิเชียร. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมต่อ การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารปัญญา. 27 (1), 109

พัชราภรณ์ โพธิสัย. (2558). สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคำนาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วชิราภรณ์ คำคล้าย. (2551). การจัดการชั้นเรียนของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุชนินธ์ บัณฑุนันทกุล. (2562). การจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3.) นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช

สุกัญญา คล้ายแพร. (2561). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดละหาร

สังกัดเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

อินทิรา บริบูรณ์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเครือข่ายโรงเรียน

นานาชาติเวลล์ส สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอื้อพร สัมมาทิพย์. (2551). แนวการจัดกิจกรรมและสื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกลไกกล้ามเนื้อมัดเล็ก สำหรับเด็กปฐมวัย. ในปฐมวัยศึกษา : กิจกรรมและสื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะพัฒนาการและการ เรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย