การพัฒนาทักษะการตัดสินใจบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิ่ง

Main Article Content

วรรณิภา ภูไทย
อรพิณ ศิริสัมพันธ์
บำรุง ชำนาญเรือ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการตัดสินใจบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสืบสอบของอัลเบอร์ต้าเลิร์นนิ่ง  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสืบสอบของอัลเบอร์ต้าเลิร์นนิ่ง  3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสืบสอบของอัลเบอร์ต้าเลิร์นนิ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการตัดสินใจบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการตัดสินใจบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิ่งหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิ่งหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิ่ง อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพย์วัลย์ สีจันทร์. (2546). การคิดและการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2544). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธีการและเทคนิคการสอน .กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุป แมเนจเม้นท์.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). การสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2551). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL(Problem-Based Learning).วารสารวิชาการ. 5 (2), 11-17.

ยุทธพันธ์ พงษ์ไพร. (2561). “ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงที่มีต่อมโนทัศน์ทางเศรษฐศาสตร์และเจตคติต่อการศึกษาเศรษฐศาสตร์ในวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย”.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลักษณา พงษ์ภุมมา. (2560). การพยาบาล ปัญหาของวัยรุ่นในสังคมไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2562. แหล่งที่มา: http://164.115.41.60/knowledge/?p=436

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อุรชา แสงทอง. (2558). ผลของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงที่มีต่อความสามารถในการใช้ความรู้และความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alberta Learning. (2004). Focus on inquiry : a teacher's guide to implementing inquiry-based learning. Edmonton: Alberta Learning and Teaching Resources Branch.

Mayer, R. E., and Alexander, P. A. . (2011). Handbook of research on learning and instruction. New York: Routledge.