การส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ของเกษตรกร ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

Main Article Content

สุนิสา ช่วยสุข
นารีรัตน์ สีระสาร
บำเพ็ญ เขียวหวาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ(2) สภาพการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนคุณภาพตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี    ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในตำบลเขาค่าย อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2563/64 จำนวน 359 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 190 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ
          ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 43.72 ปี พื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 13.87 ไร่ ประสบการณ์การปลูกทุเรียนเฉลี่ย 11.30 ปี (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการกำหนดระยะปลูก และปรับพื้นที่ภายในแปลง เลือกกิ่งพันธุ์ที่เป็นกิ่งกระโดง เก็บเกี่ยวผลผลิตโดยการเคาะเปลือกหรือกรีดหนาม  (3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในระดับมากในด้านแหล่งน้ำ (4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องแหล่งน้ำไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะด้านแหล่งน้ำ ภาครัฐควรจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการผลิตภาคการเกษตร และ (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนคุณภาพตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ควรมีการจัด Zoning ในการเพาะปลูกพืช เพื่อป้องกันภาวะพื้นที่ไม่เหมาะสม น้ำไม่เพียงพอ ผลผลิตล้นตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (ม.ป.ป.). การจัดการการผลิตทุเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/01/การผลิตทุเรียน.pdf

กระทรวงพานิชย์. (2542). ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่91) พ.ศ. 2542. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.dft.go. th/th-th/Detail-Law/ArticleId/2131/-91-2542-9-2542

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). รมว.เกษตรฯ ดันทุเรียนไทย บุกตลาดจีนสำเร็จ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.moac.go.th/news-preview-431391791587

กังสดาล กนกหงส์, นฤเบศร์ รัตนวัน และปภพ จี้รัตน. (2562). ศึกษาการยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 36, (1), 75-84.

ชฎารัตน์ พรหมศิลา. (2562). ความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐริการ์ มากท่าแซะ และพวงเพ็ญ ชูรินทร์. (2564). การวิเคราะห์ ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกทุเรียนของเกษตรกรหมู่ที่ 13 ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/844

นางสาวธิดารัตน์ จันทร์สอน. (2563). ความคุ้มค่าของการปลูกทุเรียนหมอนทองอย่างยั่งยืนในเขตภาคใต้ตอนบน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/782.

นางสาวศิริพร วรกุลดำรงชัย. (2558). ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตทุเรียนคุณภาพและการกระจายการผลิต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.doa.go. th/research/ showthread.php?tid=1990

ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์ และคณะ. (ม.ป.ป.). การผลิตทุเรียนคุณภาพยุคใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิตและแก้ปัญหาการผลิตอย่างยั่งยืน. คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564.แหล่งที่มา: https://www.doa.go.th/Research/showthread.php?tid=2721&pid=2739

ประเสริฐ บัวทอง. (2560). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกร ในตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชญา สาระรักษ์, สุพัตรา ศรีสุวรรณ และสุรินทร์ นิยมางกูร. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาพการปลูกทุเรียนของเกษตรกร ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วิทยาศาสตร์เกษตร. 47, (2), 201-212.

พีรพร พร้อมเทพ. (2558). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการผลิตทุเรียนศรีสะเกษพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ ,กระทรวงการต่างประเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://image.mfa.go. th/mfa/0/yZ0Eo327fd/nbt/nbt7/IS/7037.pdf

วนิดา เหรียญทอง. (2560). แนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกรในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2563). ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย ถูกใจคนต่างแดน. ออนไลน์สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.tpso.moc.go. th/sites/default/ files/thieriiyn_240863.pdf

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน). (2564). ทุเรียน Durian. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/durian/controller/ index.php

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2556). มาตรฐานสินค้าเกษตร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_ food%20crop.pdf

สำนักงานเกษตรอำเภอสวี. (2564). แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2564.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). การค้าไทยกับต่างประเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564 แหล่งที่มา: http://impexp.oae.go.th/service/t1.php?S_YEAR=2564&c_type=1& continent%20T_ID1=22&country_ID=&country_ID=VN&wf_search=&WF_search=y

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ทุเรียน: เนื้อที่ให้ผล ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ปี2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.oae.go.th/assets/portals/1 /fileups/ prcaidata/files/durian63.pdf