การส่งเสริมการผลิตและการตลาดมังคุดของเกษตรกร อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

Main Article Content

วิชุดา พิมลศรี
นารีรัตน์ สีระสาร
บำเพ็ญ เขียวหวาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ  2) สภาพการผลิตและการตลาดมังคุด 3) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตและการตลาดมังคุดของเกษตรกร  4) แนวทางการส่งเสริมการผลิตและการตลาดมังคุดของเกษตรกร
          กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร 2,177 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 338 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
           ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ  พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.07 ปี มีประสบการณ์การผลิตมังคุดเฉลี่ย 20.67 ปี มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 7.49 ไร่ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 1,016.90 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 2) สภาพการผลิตและการตลาดมังคุด พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) โดยเกษตรกรมีการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง 3) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตและการตลาดมังคุดของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรขาดความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ย และสารเคมี และด้านการตลาด ในประเด็นราคาผลผลิตไม่แน่นอน และราคาผลผลิตตกต่ำ ข้อเสนอเสนอแนะ ควรมีการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการสวนมังคุดตามมาตรฐาน GAP และมีการประชาสัมพันธ์การขายและเพิ่มช่องทางการขายผลผลิต 4) แนวทางการส่งเสริมการผลิตและการตลาดมังคุดของเกษตรกร พบว่า ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการจัดการสวนตามมาตรฐาน GAP และการส่งเสริมด้านการตลาด โดยส่งเสริมผ่านสื่อบุคคล และการรวมกลุ่มเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อเพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐาน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ทองรอด, พิชัย ทองดีเลิศ และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. (2563). ความต้องการรับบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38 (4), 555 -562.

ชานนท์ ถนอมวงษ์. (2556). ความต้องการการส่งเสริมและการผลิตมังคุดของเกษตรกรในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

ประถม มุสิกรักษ์. (2548). ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรที่มีต่อ การผลิตมังคุดคุณภาพในจังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

พิณประภา บุษราคัม. (2549). การใช้เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมังคุดของสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตร มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัคศจี ดำกิ่ง. (2558). การผลิตและการตลาดมังคุดคุณภาพของเกษตรกรอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มานพ โปษยาอนุวัตร์. (2555). การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอแกลจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

ยงยุทธ เมืองจำ. (2542). สภาวะการผลิตและการตลาดมังคุด ในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุพา ยอดพิจิตร. (2546). การยอมรับและแพร่กระจายเครื่องมือเก็บเกี่ยวมังคุด: กรณีศึกษา ตำบล ลานสกา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร. (2564). คู่มือมังคุดจังหวัดชุมพร. ชุมพร: สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร.

สำนักงานเกษตรอำเภอพะโต๊ะ. (2564). แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2564.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สถิติการส่งออก. ออนไลน์. สืบค้นคืนวันที่ 17 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: http://impexp.oae.go.th/service/export. php?S_YEAR=2562&E_YEAR= 2562&PRODUCT_GROUP=5252&wf_search=&WF_SEARCH=Y

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introduction analysis. New York: Harper & Row.