บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท

Main Article Content

มนัสนันท์ สิทธิศักดิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริม การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูจำนวน 217 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และใช้ตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของโคเฮน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .925 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .970 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท โดยภาพรวมและรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการให้ความสำคัญกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าของครูผู้ทำการวิจัยในชั้นเรียน และด้านการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนให้สำเร็จ 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และอยู่ในโรงเรียนขนาดแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กิติญาดา มัสแหละ. (2561). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5 (1). 45-57.

เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การการศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (2), 220-236.

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

บุณยาพร พันธ์โพธิ์ทอง. (2564). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 ในจังหวัดสระบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (3), 185-198.

มนสิชา เหมือนปอง. (2562). ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 5 (2). 1-17.

วรรณนิดา บัญดิษฐตา. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนสู่การศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ศุภชัย เพ็ชร์รัตน์. (2559). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนมัธยม วัดหนองจอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพัทธ์ 2565. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/65.ru

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. อุทัยธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท.

อังคารพิสุทธ์ สยามประโคน. (2559). บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Cohen, L., Minion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th ed). New York: Routledge.