การศึกษาการใช้สารสนเทศของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

Main Article Content

อารีรัตน์ เอี่ยมสอาด
ฉลอง ชาตรูประชีวิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษาการใช้สารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ตามตำแหน่ง ประสบการณ์ และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ครู/บุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำนวน 321 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น  (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนขนาดของสถานศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 37 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
          เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (Independent) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way-ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’ method)
          ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
          1. การใช้สารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำแนกเป็นรายด้านและโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าระดับการใช้สารสนเทศของโรงเรียน เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านพื้นฐานของสถานศึกษา ด้านการจัดการ ด้านผู้เรียน ด้านการบริหารวิชาการ และด้านการรายงาน
          2. ผลการเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ที่มีตำแหน่งต่างกัน ในภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครู/บุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นต่อการใช้สารสนเทศของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้สารสนเทศของโรงเรียน ด้านการบริหารวิชาการ และด้านการรายงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. ผลการเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้สารสนเทศของโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน
          4. ผลการเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ที่มีขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีการใช้สารสนเทศในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหาร และครู/บุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ มีความคิดเห็นว่า โรงเรียนมีการใช้สารสนเทศมากกว่าผู้บริหารสถานศึกษา และครู/บุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). การจัดระบบสารสนเทศของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อักษรไทย.

ชญาภรณ์ กุลนิติ. (2553). สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.