วัฒนธรรมปรับตัวเพื่อไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สุภาภรณ์ สีสุพรรณ์
อจิรภาส์ เพียรขุนทด

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาวัฒนธรรมปรับตัวเพื่อไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมปรับตัวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของวัฒนธรรมปรับตัวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น ภายใต้สังกัดองค์กรที่มีงบประมาณดำเนินงาน น้อยกว่า 100,000,000 บาท จำนวน 2 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีผู้ให้ข้อมูล 5 คน  เปรียบเทียบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีงบประมาณดำเนินงาน 100,000,000 บาทขึ้นไป จำนวน 2 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีผู้ให้ข้อมูล 5 คน รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 20 คน ข้อมูลที่เก็บได้นำมาวิเคราะห์แบบแก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นปัจจัยนำไปสู่การเป็นระบบราชการแบบดิจิทัล ได้แก่ 1) ด้านงบประมาณ  2) ด้านลักษณะกระบวนการปฏิบัติงาน  3) ด้านระเบียบกฎหมายที่รองรับในการปฏิบัติงาน  4) ด้านขนาดขององค์กร  5) ด้านทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากร  6) ด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลขององค์กร  นอกจากนี้ ยังพบปัญหาและอุปสรรคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการปรับตัวไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล ได้แก่  1) ปัญหาด้านทักษะความรู้ของบุคลากร   2) ปัญหาด้านงบประมาณ  3) ปัญหาด้านการขาดบุคลากรที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข การปรับตัวไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, กอบกุล รายะนาคร. (2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการจัดบริการสาธารณะที่ดี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: กระจายอำนาจการคลัง_อปท._ดิเรก+กอบกุล.pdf (v-reform.org)

อุษณี มงคลพิทักษ์สุข. (2560). วัฒนธรรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุคไทยแลนด์ 4.0. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: View of Organizational Culture of Local Administrative Organization in the Era of Thailand 4.0 (tci-thaijo.org)

ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2558). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/47964/39796

นันทะ บุตรน้อย, กาญจนา คุมา และสุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา. (2563). ผลกระทบของการปรับเปลี่ยน สู่การเป็นองค์กรดิจิทัลต่อการพัฒนาการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colak kujournals/article/view/246201/168826

ฉัฏฐ์สุดา ชัยโฉม, จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และชุลีพร นาหัวนิล. (2564). ระบบการบริหารราชการไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm /article/download/243756/167444/

กัมพล เกศสาลี, กันยารัตน์ เควียเซ่น. (2561). การรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา: https://so01.tci-thaijo.org/index. php/GraduatePSRU/article/view/105148

สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์ และ นิสรา ใจซื่อ. (2562). การขับเคลื่อนองค์การดิจิทัลเพื่อก้าวสู่การพัฒนาประเทศไทย 4.0. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา: http://journal.msu. ac.th/upload/articles/article2497_29486.pdf

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.). (2564). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ ประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dga-019/dga-024/dga-029/

จันทร์จิรา เหลาราช. (2563). การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลและผลกระทบต่อองค์กร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/ article/ view/243693/168828