การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ได้แก่ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน แตกต่างกัน จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ปีการศึกษา 2564 โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Cohen, Manion, and Morrison (2011, หน้า 147) ได้จำนวน 333 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น(Reliability) ด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค (Cronbach' s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ 0.979 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ ตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s post hoc comparison method) ผลการวิจัยพบว่า 1) การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านทรัพยากรบริหารจัดการ ด้านทรัพยากรเงิน ด้านทรัพยากรบุคคล และด้านทรัพยากรวัสดุ อุปกรณ์ 2) บุคลากรในโรงเรียนที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ไม่แตกต่างกัน 3) บุคลากรในโรงเรียนที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ไม่แตกต่างกัน 4) บุคลากรในโรงเรียนที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีการระดมทรัพยากรทางการศึกษา มากกว่า โรงเรียนขนาดเล็ก-ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
Article Details
References
กณวรรธน์ ลาขุมเหล็ก. (2564). สภาพและแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ธัญลักษณ์ นวลศรี. (2557). การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
อรวรรณ อินสุคู. (2560). การระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.