การพัฒนาสื่อพหุภาษาจากวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยะลา

Main Article Content

อัญชริกา จันจุฬา
สกล สมจิตต์
เฟรดาว สุไลมาน
นูรฮัสวานี บอตอ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการสื่อพหุภาษาจากวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิผลของสื่อพหุภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ด้วยภาษาอังกฤษ ภาษามลายูถิ่น และภาษาไทย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 85/85 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ภาษามลายูถิ่น และภาษาไทย ระหว่างก่อนและภายหลังการใช้สื่อพหุภาษา โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ (Collaborative Strategic Reading) 3. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการใช้สื่อพหุภาษา โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ (Collaborative Strategic Reading)
          รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 20 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 14 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 16 คน 3 ห้องเรียน รวม 50 คน ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง  ซึ่งใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) สื่อพหุภาษา 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน 3) แผนการจัดการเรียนรู้  4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ หาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ค่าความยากง่าย (Difficulty) และค่า t-test dependent โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประมวลผลสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ภาษามลายูถิ่น และภาษาไทย ระหว่างก่อนและหลังการใช้สื่อพหุภาษา โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ (Collaborative Strategic Reading) มีทักษะการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 6.96
          2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ภาษามลายูถิ่น และภาษาไทย ระหว่างก่อนและภายหลังการใช้สื่อพหุภาษา โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ (Collaborative Strategic Reading) มีทักษะการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. ผลการประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการใช้สื่อพหุภาษา โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ (Collaborative Strategic Reading) พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.09) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรจง ฟ้ารุ่งสาง. (2555). การศึกษาในวิถีพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วัชราภรณ์ แสงพันธ์ และ นิตยา เปลื้องนุช (2553). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4 (ฉบับพิเศษ), 128–135.

สุธิรัส ชูชื่น. (2555). พหุวัฒนธรรมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางเลือกหรือทางรอด? วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (2), 123–126.

อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ. (2557) รู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์.

Kawther I. M. Kawtb.(2016). The Effect of a Collaborative Strategic ReadingBased Program on Developing Secondary School Students' Reading Comprehension Skills. Egypt : Faculty of Education Assiut University.

Klingner Vaughn. (1999). “Teaching Reading Comprehension Through Collaborative Strategic Reading”. Intervention in School and Clinic 34 (5), 284-292.