ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) กรณีศึกษาในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระเรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คือ 1) ระดับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 3) ข้อเสนอแนะและมาตรการการลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จากการแจกแบบสอบถามกับผู้สูงอายุ จำนวน 269 คน ได้มาจากการแทนค่าในสูตรของยามาเน่ ใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกันทุกด้าน 3. ข้อเสนอแนะและมาตรการ มี 4 มาตรการ คือ 1) มาตรการด้านสาธารณสุข 2) มาตรการด้านเวชภัณฑ์ป้องกันผู้สูงอายุ 3) มาตรการด้านการป้องกันปฏิบัติตน 4) มาตรการด้านการให้ความช่วยเหลือเยียวยา
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรม กลุ่มที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สำนักงานสถิติฯ เผยผลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย2560. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: http://www.nso.go.th/ sites/ 2014/DocLib14/News/ 2561/07-61/N10-04-61.pdf.
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ประจำประเทศไทย และ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). บทสรุปผู้บริหาร ผลกระทบโควิด-19 ต่อผู้สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/ pub-pdf/covid-19_report-online-revised_2021.pdf.
กัญญาณัฐไฝคำ. (2561).การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 7 (2), 19-26.
วิญญ์ทัญญู บุญทัน และคณะ. (2563).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2 (12), 323-337.