บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย และเทียบสัดส่วน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของโคเฮน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .984 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ และด้านการบริหารงานบุคคล 2) ผลการเปรียบเทียบเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำแนกตามขนาดขนาดของสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารที่ขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านวิชาการ และ ด้านการบริหารงานบุคคล แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรงศึกษาธิการ
เขษม มหิงสาเดช. (2562). การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดรัลรัตน์ ฮามพิทักษ์. (2562). แนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16 (74). 118-130.
เทียมจิต คงอรุณ. (2561). การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในเขตอำเภอท่าเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
เขต 1. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 14 (2), 117-126.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์
พุทธา โพธ์มะฮาด. (2548). สภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
พรเทพ รู้แผน (2561). การบริหารสถานศึกษาและพัฒนาชุมชน. พระนครศรีอยุธยา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ฟิกรี แก้วนวล. (2560). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการ บริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา.
วิชุตา วังสะอาด. (2562). การมีส่วนในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 2. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ประจำปี พ.ศ. 2562 (หน้า 673 - 674). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
วรวุฒิ ต๊ะคำวรรณ์. (2558). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ. (หน้า 1219). มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2554). ครุศึกษากับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พัชรินทร์ พี.พี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562) คู่มือการดำเนินงานของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: แม็ทช์พอยท์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2564). ข้อมูลสารสนเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://data.bopp-obec.info/emis /index_area. php?Area_ CODE =1301
ศิรินารถ นันทวัฒนภิรมย์. (2547). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาล อําเภอเมืองลําพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัจฉรา จงดี. (2560). การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี จันทบุรี.
อดิศักดิ์ หรนหมาน (2560). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุงเขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2542). การศึกษางานแนวทางการบริหารและการจัดการการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (รายงายการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
Cohen, L., Minion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th ed.).
New York: Routledge