ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู ในสถานศึกษาเครือข่ายที่ 42 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พัสกร โหมเพ็ง
รุจิร์ ภู่สาระ
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษาเครือข่ายที่ 42 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ขนาดสถานศึกษา และตำแหน่งวิทยฐานะกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ   ครูในสถานศึกษาเครือข่ายที่ 42 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 79 คน จากการเปิดตารางของ (Cohen, Manion and Morrison 2011, pp. 147) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 56 ข้อ ที่ผ่านการทดสอบหาค่าความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 และค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.957 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffè’s
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษาเครือข่าย ที่ 42 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
          2. การเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างกัน จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ตำแหน่งวิทยฐานะ และขนาดสถานศึกษา มีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา บุญช่วย. (2561). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

จักรพันธ์ พันธ์หินกอง (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปกร. 39 (5), 128-142.

จิระเดช สวัสดิภักดิ์. (2562). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธนภัทร พึ่งพงษ์. (2564). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารร้อยแก่นสาร. 6 (1), 55-69.

ธีรศักดิ์ สารสมัคร. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต29. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ. ครั้งที่ 5. 29 พฤษภาคม 2563. มหาวิทยาลัยราชธานี.

นฤมล พรหมลัทธิ์. (2561). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 7 ธันวาคม 2561. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

พลอยปภัส ศรีธรรมากรกุล. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนกำแพงแสน. สาขาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เยาวเรศ ทิพชรา. (2560). ความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนร่องคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 24. สาขาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฤทธิชัย บัลลังค์. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนแก่งหางแมว สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต1. สารนิพนธ์.ศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วริศรา คำเพ็ญ. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต2 กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์. 13 (28), 10-19.

วิมลพรรณ ช่างคิด. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2557). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารยุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ. วารสารเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูวิทยาจารย์. 113 (6), 52.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563 OBEC’S POLICY2020. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อรอนงค์ แดงนุ้ย (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอบางสะพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปรถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต1. สารนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bass, Bernard, M. & Avolio. Bruce. J. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. USA : SAGE Publications.

Cohen,Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison, Keith. (2011). Research Method in Education. (7th ed). New York : Morrison.