แนวทางการขับเคลื่อนการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และบุคคลในครอบครัว ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

ศิริปรียา ศิริสุนทร
ธนัสถา โรจนตระกูล

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงต่อความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และบุคคลในครอบครัว 2) เพื่อศึกษาระบบและกลไกการขับเคลื่อนการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และบุคคลในครอบครัว และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และบุคคลในครอบครัว เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ จากการแจกแบบสอบถามกับประชาชน จำนวน 400 คน ที่ได้จากสูตรของยามาเน่ (Yamane) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช่สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุป
          ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานการณ์ความเสี่ยงต่อความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และบุคคลในครอบครัว พบว่า 1) ปัญหาการขัดเกลาทางสังคมของครอบครัว 2) ปัญหาเศรษฐกิจของครัวเรือน 3) ปัญหาที่จากการดื่มสุราหรือใช้สารเสพติด 4) ปัญหาจากบุคคลที่มาจากหลายเผ่าพันธุ์ หลายเชื้อชาติ 2. ระบบและกลไกการขับเคลื่อนการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และบุคคลในครอบครัว พบว่า 1) จากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 2) จากการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว (ศปก.ต.) หรือศูนย์พัฒนาครอบครัว (ศพค.) และ 3) จากการจัดรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็กและบุคคลในครอบครัว จากหน่วยงานในจังหวัดตาก 3. แนวทางการขับเคลื่อนการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และบุคคลในครอบครัว พบว่า 1) สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และบุคคลในครอบครัว 2) สร้างเครือข่ายอาสาสมัครในพื้นที่ 3) ประชุมเครือข่ายความร่วมมือ และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย และ4) ให้ความช่วยเหลือ บำบัดผู้กระทำด้วยความรุนแรง 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุภาวดี น้อยมณี. (2558). การสำรวจสถานการณ์เสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัวในตำบลแม่ยางฮ่ออำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นญา พราหมหันต์. (2560). ทายาทความรุนแรง : แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคมต่อการจัดการประสบการณ์ความรุนแรง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม คณะรัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐานา วิบูลย์ภาณุเวช.(2562). พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ.2550 จากเจตนารมณ์สู่การปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกศินี วีรศิลป์ และบงกชมาศ เอกเอี่ยม. (2559). การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวต่อสตรีกรณีศึกษา ภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย. การประชุมวิชาการเสนอผลงานระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 37 วันที่ 17-18 ธันวาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

คณะกรรมการกฤษฎีกา, สำนักงาน. (2550, 14 สิงหาคม). พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพุทธศักราช 2550. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: http://web.krisdika.go.th.

รัฐวิชญ์ อริยพัชญ์พล และ พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2563, เมษายน). การแก้ปัญหาความนแรงในครอบครัวของไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (4), 321-335.