คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

Main Article Content

สุรภา เอมสกุล
ธนัสถา โรจนตระกูล

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ต่อประชาชนที่มารับบริการจากสำนักทะเบียนอำเภอโพทะเลตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอโพทะเลตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอโพทะเลตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถามกับประชาชนผู้มาติดต่อรับบริการจากสำนักทะเบียนอำเภอโพทะเล จำนวน 388 คน ซึ่งได้จากการแทนค่าในสูตรของยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ ค่า
F-test (One Way ANOVA)
          ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้ และจำนวนครั้งที่มาใช้บริการ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตรตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ไม่แตกต่างกัน 3.  ปัญหาและแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ พบว่า 1) ในด้านปัญหา คือ 1) เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการมีไม่พียงต่อการปฏิบัติงานทำให้งานเกิดความล่าช้า 2) ขาดการนำการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเข้ามาเพิ่มใช้ในการให้บริการ 3) เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยให้คำปรึกษา แนะนำผู้มาใช้บริการในสำนักงาน 4) ขาดการประชาสัมพันธ์ และแจ้งข่าวสารให้ผู้รับบริการ หรือประชาชนในที่ได้รับทราบ 2) ในด้านแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา คือ  1) ควรจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอกับปริมาณงาน 2) ควรมีการลดขั้นตอนการบริการต่าง ๆ เพื่อให้การใช้บริการเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม 3) ควรจัดเจ้าหน้าที่เพื่อตอบข้อซักถามให้แก่ผู้มารับบริการโดยเฉพาะ 4) ควรทำการประชาสัมพันธ์หรือแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนประชาชนในพื้นที่ 5) นำเทคโนโลยี สารสนเทศ และอุปกรณ์ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการให้บริการกับประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ(20) ประเด็น การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (พ.ศ.2561– 2580). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/ 2019/04/20-การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ pdf.

สำนักบริหารการทะเบียนอำเภอโพทะเล. (2564). ประวัติสำนักบริหารการทะเบียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.bora.dopa.go.th/index.php/th/menu5/menu5-history.

ปิยณัฐ จันทร์เกิด. (2560). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครนครสวรรค์ตามการรับรู้ของ ประชาชน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นุชิดา ทับศรี และ ศิริพงษ์ ทองจันทร์. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสำนักทะเบียน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม. 28 (1), 153-164.

ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2563). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 2 (2), 461-472.