แผนการพัฒนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกลุ่มอาชีพ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพกลุ่มอาชีพ 2) ศึกษาความเชื่อมโยงของปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการภายในกลุ่ม และ 3) จัดทำแผนพัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มอาชีพในตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการจัดเวทีระดมสมองและการสัมภาษณ์ จำนวน 15 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วน 1) การประเมินศักยภาพด้วยแบบประเมินศักยภาพกลุ่มอาชีพ 2) วิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่เชื่อมโยงที่เอื้อต่อการจัดการกลุ่มอาชีพ และ 3) วิเคราะห์ TOWS Matrix เพื่อศึกษากลยุทธ์การพัฒนากลุ่มอาชีพ
ผลการวิจัย พบว่าอำเภอหนองเรือมีกลุ่มอาชีพที่ดำเนินการในปัจจุบันจำนวน 3 กลุ่ม ผลการประเมินศักยภาพของกลุ่มอาชีพมีเพียงกลุ่มอาชีพแปรรูปปลาที่มีศักยภาพระดับดี ส่วนผลการศึกษาปัจจัยเชื่อมโยงที่เอื้อต่อการพัฒนากลุ่มอาชีพจากกลุ่มตัวแปร 3 เชิงชั้น ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการบริหารจัดการและองค์กร มีทั้งหมด 9 ตัวแปร คือ (1) การร่วมทบทวนผลการดำเนินงาน (2) การจัดการความรู้ขององค์กร (3) การจัดทำแผนอย่างมีส่วนร่วม (4) การบริหารจัดการกระบวนการผลิต (5) กระบวนการจัดการสินค้า (6) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิก (7) ชุมชนได้รับผลประโยชน์ (8) ความเชื่อมั่นในผู้นำและการมีขวัญกำลังใจของสมาชิก และ (9) ความพอใจในองค์กร พบว่าตัวแปรการจัดการความรู้ขององค์กรมีความสัมพันธ์กับความศักยภาพของกลุ่มอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์กับศักยภาพของกลุ่มอาชีพในทิศทางเดียวกัน ผลการวิเคราะห์ SWOT พบว่าตำบลบ้านผือมีจุดแข็ง คือมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ซึ่งเป็นทุนทรัพยากรธรรมชาติที่มีศักยภาพสูง จุดอ่อนคือขาดการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ และมีอุปสรรคคือแหล่งท่องเที่ยวบางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ
Article Details
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ. ออนไลน์. สืบค้น 15 มกราคม 2565.
แหล่งที่มา: https://krabi.cdd.go.th › uploads › sites › 2021/06
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). คู่มือการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
ชวลีย์ ณ ถลาง. (2564). แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 15 (1), 25-37.
ทิพย์สุดา พุฒจร แลคณะ. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนสลักคอก จังหวัดตราด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 5 (2), 1-13.
ทิวาวรรณ ศิริเจริญ กันหา. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านห้วยหญ้าเครือ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์). 10(3), 100-111.
รัชดา ภักดียิ่ง. (2563). การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Educational and Research. 6 (1), 175-189.
วรรณดี สุทธินรากร. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการทางสำนึก. กรุงเทพมหานคร: ศยามสำนักพิมพ์.
วุฒิชัย สายบุญจวง และสมทรง บรรจงธิติทานต์. (2564). การพัฒนากลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วมสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ว ไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 16 (2), 91-104.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). หากโควิดไม่ระบาดซ้ำหนัก ตลาดไทยเที่ยวไทยจะกลับเข้าสู่เส้นทางการฟื้นตัว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.kasikornresearch.com/th/ analysis/k-econ/business/Pages/Thai-Travel-Thai-z3284.aspx
สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ. (2564) การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism). ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.adt.or.th/page/sustainable- tourism/en
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/main. php?filename=plan13