รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนา การอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ระเบียบวิจัยและพัฒนา มีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองงานวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 32 คน โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2563 ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการอ่านภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการเขียนภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ t test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาการอ่านออก เขียนได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการได้แก่ หลักการ จุดประสงค์ เนื้อหากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นเรียนรู้ ขั้นฝึกปฏิบัติ ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นสรุปบทเรียน ขั้นนำไปใช้ และขั้นประเมินผล
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2.1 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 พบว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.16/85.15
2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้มีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยระหว่างเรียนและหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
ญาณี ไชยวงศา. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและแนวคิดการช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิศนา แขมมณี. (2550 ). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2562 ). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ บุญเกิด. 2550. สมองเรียนรู้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิทยาการการเรียนรู้.
ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์. (2549). การใช้แนวคิดเรื่อง พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ (Zone of Proximal Development) ของไวกอตสกี้ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับ นักเรียนระดับอุดมศึกษา. ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พราวพร นิลเขต. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวกอตสกี้ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาและ ความสามารถในการกำกับตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พรพิไล เลิศวิชา. (2552). สอนภาษาไทยตามแนวคิด Brain - based Learning. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วรรณาภรณ์ พระเมเด. (2562). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อแก้ปัญหาการอ่าน ไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและ ประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุคนธ์ ภูริเวทย์. (2543). การออกแบบการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Caine, Renate N. & Caine, Geoffrey. (1990). Understanding a Brain–based Approach to learning and teaching. Educational Leadership. 48 (2), 66-67.
Joyce, B. & Weil, M. & Showers, B. (1996). Models of teaching. Boston: Allyn and Bacon.