การพัฒนาทักษะด้านการอ่านพยัญชนะของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้เกมการศึกษา

Main Article Content

พิมพ์ผกา พิพู
สุพันธ์วดี ไวยรูป
ธนินท์ธร แดงทิม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านพยัญชนะของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3   โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านการอ่านพยัญชนะของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังใช้กิจกรรมเกมการศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3/2 โรงเรียนสมาคมสตรีไทยที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2564 จำนวน 6 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงเนื่องจากนักเรียนมีปัญหาด้านการอ่านพยัญชนะ โดยพบว่า ไม่สามารถบอกหรืออ่านพยัญชนะที่มี ความคล้ายคลึงกันได้ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา มีความเหมาะสม    อยู่ในระดับมาก และแบบประเมินความสามารถด้านการอ่านพยัญชนะ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง     ข้อคำถามและจุดประสงค์ มีค่าเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีทักษะด้านการอ่านพยัญชนะหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาอยู่ในระดับดีทุกคน และนักเรียนมีทักษะด้านการอ่านพยัญชนะหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทุกคน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กุลธี สุทธา. (2557). การคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาตารางสัมพันธ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9 (3), 85-94.

จีราพัชร ปราบสงบ. (2561). การศึกษาความสามารถอ่านและเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียน ณ ดรุณ จากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้แบบฝึกทักษะคำคล้องจอง. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2558). วิจัยในชั้นเรียนหลักการและเทคนิคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.

พูนสุข บุณย์สวัสดิ์. (2532). เมื่อหนูน้อยหัดเขียน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แปลน พับลิชชิ่ง จำกัด.

ภิญญดาพัชญ์ เพ็ชรรัตน์. (2554). เริ่มต้นอ่านเขียน : ย้อนคิดและเรียนรู้เกี่ยวกับการรู้หนังสือในระดับปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 22 (3), 15-31.

รุสนี เจะเตะ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับเกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

โรงเรียนสมาคมสตรีไทย. (2561). หลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี โรงเรียนสมาคมสตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนสมาคมสตรีไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). สมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 3-6 ปี : แนวแนะสำหรับผู้ดูแลเด็ก ครู และอาจารย์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด.

อรพรรณ เฟื่องฟู. (2557). กิจกรรมการเล่าเรื่องประกอบเกมลอตโตที่ส่งผลต่อทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

อรวรรณ โรวิรัมย์. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทยโดยการใช้เกมการศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.