ความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการ ร้านชาบูอินดี้ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ตามลักษณะส่วนบุคคล และ 2) ศึกษาอิทธิพลของค่านิยมและส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ฯ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีที่ได้จากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 400 คน โดยสุ่มแบบตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และ Multiple Regression
ผลการศึกษา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุ 21 – 25 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือปวช. ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,001 บาท ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า1) เปรียบเทียบความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ตามลักษณะส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาปัจจุบัน อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีแตกต่างกัน และ 2) อิทธิพลของค่านิยม ที่ส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีพบว่า การเข้าสังคม ความทันสมัย และความมีชื่อเสียง ส่งผลเชิงบวกต่อความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีและอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดบริการ ที่ส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ราคาและสถานที่ให้บริการส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ในอำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาด บุคลากร กระบวนการให้บริการ ลักษณะทางกายภาพไม่ส่งต่อความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
Article Details
References
กนกพรรณ สุขฤทธิ์. (2557). ส่วนประสมการตลาดบริการและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่น ย่าน Community Mall ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กรรญา เสริมศักดิ์ศศิธร. (2563). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ ชาบูชิ ของพนักงานในเขตนิคมอมตะนคร ชลบุรี. สาขาการตลาด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กฤชฐา ตรูวิเชียร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในศูนย์การค้า เซ็นทรัล เวิลด์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
กิตติภพ สงเคราะห์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จุไรรัตน์ บุตรประเสริฐวิชา. (2558). ปัจจัยด้านการตกแต่งภายในที่มีอิทธิพลต่อการเลือกร้านอาหาร กรณีศึกษา : ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าย่านเพลินจิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เจียระไน พรสมบูรณ์ศิริ. (2559). ปัจจัยและพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคร้านอาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมี่ยมในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณิชาภัทรา จันทร์ดารา และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่มีเครื่องหมาย “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” ในเขตกรุงเทพมหานคร. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พัทธนันท์ ศุภภาคิณ และคณะ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ บางกอก บาโคนี่ ชั้น 81 โรงแรมใบหยกสกาย. มหาวิทยาลัยรังสิต.
พิมพ์สุภัค จิรสิทธิธำรง. (2559). ศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารชาบูชิบุฟเฟ่ต์ที่ ซีคอนบางแค. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7.
วิชยา ทองลัพท์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านอาหารประเภทชาบูของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิวบุษ พรหมสงฆ์. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการร้านบุฟเฟต์กระทะร้อน : กรณีศึกษา ร้านนัวเนย บุฟเฟ่ต์โคขุน & ซีฟู๊ด. วิทยาลัยดุสิตธานี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). ข้อมูลจำนวนประชากร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มาhttp://www.nso.go.th.
อรสิริ ทัศนาวรากุล. (2554). ค่านิยมการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ=ศูนย์การค้าสยามพารากอนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : =มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อัญธิกา แก้วศิริ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่.
Reeder, W. (1971). Patial theories from thed 25 year reasearch programe on directive factor in Believer and social action. New York : Mcgraw hill.