การพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์สุขภาพชุมชนเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ และ 2)ศึกษาการพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพชุมชนของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์แบบมีส่วนร่วม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีการเก็บข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลภาคสนามในการประชุมและอบรมต่างๆ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการจัดทำธรรมนูญสุขภาพตำบลกาฬสินธุ์ ได้มาจากการคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง และกลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนครัวเรือนในชุมชนเป้าหมาย 4 แห่ง จำนวน 528 ครัวเรือน จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้เกณฑ์โดยกำหนดเป็นร้อยละ 60 ของประชากร และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุป
ผลการวิจัยพบว่า 1.สถานการณ์สุขภาพชุมชนเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มี 4 ด้าน คือ 1) ด้านปัจเจกบุคคล ปัญหา คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และ ศักยภาพ คือ มีการผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับบริโภคเองในครัวเรือน 2) ด้านเศรษฐกิจ ปัญหา คือ มีรายจ่ายของครัวเรือนสูงกว่ารายได้ และ ศักยภาพ คือ มีการออมและลดรายจ่ายในครัวเรือน 3) ด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหา ส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาอากาศเป็นพิษ เสียงดังรบกวนและน้ำเสีย และ ศักยภาพ คือ มีการจัดการขยะในครัวเรือน และ 4) ด้านสังคม ปัญหา คือ มีความรู้สึกปลอดภัยระดับปานกลาง และส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนน้อย และ ศักยภาพ คือ ครัวเรือนได้รับการช่วยเหลือและสวัสดิการจากชุมชนและภาครัฐ 2.การพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพชุมชนเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์แบบมีส่วนร่วม มี 9 ขั้นตอน คือ 1) จัดตั้งคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญสุขภาพชุมชน 2)กำหนดกรอบธรรมนูญสุขภาพชุมชน 3) ศึกษาสถานการณ์สุขภาพชุมชน 4)จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพชุมชน 5)จัดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นของประชาชนต่อร่างธรรมนูญสุขภาพชุมชน 6)จัดเวทีสาธารณะรับรองธรรมนูญสุขภาพชุมชน 7) แปลงธรรมนูญสุขภาพชุมชนสู่การปฏิบัติ 8)ประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพชุมชน และ 9)สรุปบทเรียนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพชุมชน จากการพัฒนาธรรมนูญสุขภาพชุมชน ได้ก่อให้เกิด ธรรมนูญสุขภาพตำบลกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ.2559 เรียกว่า “ธรรมนูญ 5 ดี : ก่อร่าง สร้างฝัน สร้างคน ตำบลกาฬสินธุ์” ที่ใช้เป็นทิศทาง กรอบและกติกาในการพัฒนาชุมชน ประกอบไปด้วยสาระสำคัญ 5 หมวด ได้แก่ คนดี สุขภาพดี รายได้ดี สิ่งแวดล้อมดี และ สังคมดี โดยหมวดที่มีมาตรการมากที่สุด คือ สิ่งแวดล้อมดี
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2552) . แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพระดับโครงการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
กิตติ เหลาสุภาพ และคณะ. (2564). การพัฒนามาตรการทางสังคมเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในตําบลโนนโหนน อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 4(1), 57-66.
เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. (2559). แผนพัฒนาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ.2560 – 2562. กาฬสินธุ์: เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. (2559). รายงานผลการถอดบทเรียนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558-2559. กาฬสินธุ์: เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ และ อนุพงศ์ สุจริยากุล. (2543). นโยบายสาธารณเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.
ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ และนุศราภรณ์ เกษสมบูรณ์. (2545). นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. เอกสารประกอบการสอน. ขอนแก่น: ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประเวศ วะสี. (2552). กระบวนการนโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
ปารวี สยัดพานิช. (2565). บันทึกอย่างไรให้ได้เรื่อง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www2.si.mahidol.ac.th/km/knowledgeassets/kmexperience/kmarticle/9973/
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. (2550, มีนาคม 19). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (26ก),14-15
พระโสภณพัฒนบัณฑิต, ธวัลรัตน์ แดงหาญ และพระประเสริฐศักดิ์ รตฺนญโณ. (2562). การขับเคลื่อนระบบสุขภาพโดยใช้ธรรมนูญสุขภาพชุมชนวิถีพุทธตำบลหนองตาไก้ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 19 (2), 1-12
วงเดือน พระนคร และคณะ. (2564). ศึกษาการสร้างธรรมนูญสุขภาพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 3 (2), 253-268.
วราพร วันไชยธนวงค์ และคณะ. (2560). การพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 23 (1), 43-53.
วิพุธ พูลเจริญ. (2543). สู่การปฏิรูประบบสุขภาพคนไทย. กรุงเทพมหานคร: ดีไซร์.
สมพันธ์ เตชะอธิก และ วินัย วงศ์อาสา. (2555). สุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 29 (2), 1-22
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2553). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2553. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัทวิถีจำกัด
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2556). ก่อ – ร่าง – สร้าง – เคลื่อน : บทเรียนธรรมนูญสุขภาพ 6 พื้นที่. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554) . กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ระดับชาติ ปี 2554-2558. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.