ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

Main Article Content

ฐิตาภา สุวรรขำ
ละมุล รอดขวัญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียน 2) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 210 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยดำเนินการส่งข้อมูลผ่านระบบ E-office ของโรงเรียน ซึ่งผู้วิจัยได้แนบ QR Code การทำแบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Form ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถใช้ E-Mail ตอบแบบสอบถามได้คนละ 1 ครั้ง (1 User / แบบสอบถาม 1 ฉบับเท่านั้น) ซึ่งแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .936 และ .938 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดีทุกด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง ( r=.898***) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 4) ข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้คณะครูและบุคลากรได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียน ควรเชื่อมโยงการทำงานของแต่ละฝ่ายให้สัมพันธ์ต่อเนื่อง โดยการวางกลยุทธ์และเป้าหมายที่ชัดเจน มีแนวทางการปฏิบัติงานที่หลากหลาย ผลการวิจัยสามารถนำไปวางแผนและใช้เป็นกรอบในการอบรม เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2560). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31, สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 4 (1), 29-40.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กานต์พิชชา ชูวงษ์. (2562). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี, บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 7 (2), 97-108.

จีรพรณัฎฐ์ ภุมรินทร์ และ สายสุดา เตียเจริญ. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากบการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11 (1), 215-216.

ณิกัญญา สายธนู. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5), วารสารวิชาการ ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. 7 (1), 102.

บุษยมาศ สิทธิพันธ์. (2559). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ :บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประเสริฐ กำเลิศทอง. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปวีณา รอดเจริญ และ พรศักดิ์ สุจริตรักษ์. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดนครปฐม, วารสารสังคมศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. 10 (2), 62-82.

ปัทมา เผือกสีทอง. (2560). สมรรถนะหลักของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภานุวัฒน์ นิลศรี และ จิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2564). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น, วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11 (3), 24-37.

ยืนยง ไทยใจดี และคณะ. (2564). พหุสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20, วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 7 (1), 89-102.

รติกร พุฒิประภา. (2562). องค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านลานแหลม (สรนุวัตรราษฎร์อุทิศ), วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (2), 517-526.

วิชิต แสงสว่าง. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเตรียมคนไทย 4.0 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14 (1), 218-231.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. (2563). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2563.กระบี่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). รายงานประจำปี 2549. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2565). กรอบแนวทาง รูปแบบ และวิธีการประกันคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์จำเป็นและเร่งด่วน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สุทธิศักดิ์ แก้วจินดา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา.

สูทญา อร่ามรัตน์. (2562). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

หนูกัณฑ์ ปาโส และ ยุวธิดา ชาปัญญา. (2562). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

อาราฟัด หัดหนิ. (2564). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607 - 610.

Senge, P. (1990). The Fifth Discipline. New York: Doubleday.