การศึกษาการพัฒนาสมรรถนะครูตามสถานการณ์แพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1

Main Article Content

ศิริกุล แสงศรี
ศิริกุล แสงศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถนะครูตามสถานการณ์แพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด - 19) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสุโขทัยเขต 1 จำนวน 97 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 97 คน และ ครูผู้สอน จำนวน 97 คน รวมจำนวน 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่มีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า  การศึกษาการพัฒนาสมรรถนะครูตามสถานการณ์แพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด - 19) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์วรา ผลเจริญ (2559). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

ฉันทนา บุญมาก. (2555). การศึกษาสมรรถนะครูของครูโรงเรียนอนุบาลชลบุรีตามความรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.) บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนสมพร มะโนรัตน์ (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ ของโรงเรียนบ้านห่องวารี (นิพัทธ์ธรรมาภรณ์อุปถัมภ์) สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. โรงเรียนบ้านห่องวารี (นิพัทธ์ธรรมาภรณ์อุปถัมภ์) ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ.

พงษ์ศักดิ์ ด้วงทา (2557). การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูโรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พวงรัตน์ จินพล (2564). การจัดการเรียนออนไลน์ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 : กรณีศึกษา โรงเรียนตันติวัตร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

พรทิพย์ บุญณสะ (2555). การพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อริสา นพคุณ,บรรจบ บุญจันทร์ และสุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 12 (3), 232-244.

อิสหาก นุ้ยโส๊ะ (2556). สมรรถนะครูอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการศึกษาอิสลาม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.