การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน โดยใช้แนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ

Main Article Content

ณัฐชยา สมมาศเดชสกุล
นงคราญ อนุกูล
วิรัช พิมพา
สุจรรยา สมบัติธีระ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ  2) พัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน  โดยการเขียนแบบเน้นกระบวนการโดยให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ  75  มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ  75  ขึ้นไป  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/3  โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนซึ่งได้มาด้วยวิธีการ  สุ่มอย่างง่าย  จำนวน  36  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ  1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ แบบบันทึกพฤติกรรมการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบทดสอบย่อย  2) เครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  4  ขั้นตอน  คือ  ขั้นการวางแผนการปฏิบัติ  ขั้นปฏิบัติการ  ขั้นสังเกต  และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ  โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมของการปฏิบัติการในวงจรมาวิเคราะห์และใช้ปรับแผนการปฏิบัติในวงจรต่อไป
          ผลจากการดำเนินการวิจัยพบว่า
          1. ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการมีพัฒนาการทางการเขียนภาษาอังกฤษสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ  75  ของคะแนนเต็มคือคิดเป็นร้อยละ  86.11
          2. ผลจากกระบวนการ เชิงคุณภาพ  นักเรียนมีพัฒนาการเกี่ยวกับการเขียนภาษาอังกฤษสูงขึ้น เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียดด้านบทบาทและพฤติกรรมของครูผู้สอน  พฤติกรรมของนักเรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน  ทำให้ทราบจุดบกพร่องของกระบวนการเรียนการสอนสามารถหาแนวทางแก้ไขได้ตรงจุด  สรุปได้ดังนี้
               1) พฤติกรรมของครูผู้สอน  โดยครูผู้สอนจะต้องให้ความรู้ ให้คำปรึกษา  ให้การช่วยเหลือแนะนำสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับนักเรียนและสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง
               2) พฤติกรรมของนักเรียน  ในการฝึกทักษะการเขียนตามขั้นตอนกระบวนการเขียน  นักเรียนต้องช่วยเหลือกัน  ระดมความคิด  รวบรวม  และเรียบเรียงข้อมูล  แสดงความคิดเห็นผลงานเขียนของเพื่อน  แก้ไข  ปรับปรุงงานเขียนของตนเองให้สมบูรณ์  สร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับครูผู้สอนและกับเพื่อนโดยนักเรียนที่เรียนเก่ง  ให้คำแนะนำช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนอ่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. 2552. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จิราภา รังคะราช. (2548). การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 5). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฏฐา ถิละวัฒน์. (2547). การพัฒนาความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิพย์วรรณ ธงภักดิ์. (2543). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพนา พิทยากิจ. (2542). การศึกษาความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รักษ์สุดา ทรัพย์มาก. (2548). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน (CIRC) และการประเมินตามสภาพจริง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศศิวิมล ผาสุข. (2539). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรุณี วิริยะจิตรา และคณะ. (2555). เหลียวหลังแลหน้าการสอนภาษาอังกฤษ : กรุงเทพมหานคร: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.