การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ชัยรัตน์ มาสอน
ชาญชัย ฮวดศรี
สุรพล พรมกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ตามหลักอิทธิบาท4 3) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และตามหลักอิทธิบาท 4 4) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 384 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบการแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการพรรณนาความ
          ผลการวิจัย พบว่า
          1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ตามหลักอิทธิบาท4 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พบว่า ประชาชนที่มี อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และหลักอิทธิบาท 4 ต่างกัน ต่อการมีส่วนร่วมการปกครองส่วนท้องถิ่น แตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเทศและระดับการศึกษาต่างกัน การมีส่วนการปกครองส่วนท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน 4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง ยังไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการบริหารการประเมินงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น ควรมีการแต่งตั้งประชาชนเข้ามาเป็นกรรมการประเมินแผนงาน โครงการตามแผนพัฒนา ประเมินความโปร่งใสในการดำเนินงานของคณะผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจัง ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมที่จัดดำเนินการ มีส่วนร่วมที่จะตัดสินใจวางแผน ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ  เพื่อเสนอปัญหาและความต้องการในท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองราชการส่วนตำบล. (2562). ข้อมูลสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

จิรวรรณ อินอินทรีย์สังวรณ์. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาสามปีกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโปร่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณ. บัณฑิตวิทยาลัย: ราชภัฏเชียงราย,

ชาตรี แนวจำปา. (2552). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิต.

ทัศนีย์ ปาระภา. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลต าบลนาจารย์อ าเภอเมืองกาฬสินธ์ุจังหวดักาฬสินธ์ุ. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิพนธ์ โอภาษี. (2557). การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารจัดการคณะสงฆ์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หกจ. ขอนแก่นการพิมพ์.

พัชรินทร์ โสภา และ สิทธิเดช สิริสุขะ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสดมฟอร์ด (Student of Master of Business Administration, Stamford International University

พิลัยวัลย์ ศิริภกัด์ิ. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานเทศบาลตำบลศรีวิไล อำเภอศรีวิไลจังหวัดหนองคาย. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วราสิทธิ์ กาญจนสูตร. (2546). คัมภีร์บริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

วสันต์ จันทจร. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภชัย เชื้อกุณะ. (2542.). ความรูความเขาใจในบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารสวนตำบลศึกษาเฉพาะพื้นที่จังหวัดหนองคาย. สารนิพนธปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจ. (2546). คู่มือการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองการในระบบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สิทธิ์ธนัชท์ วารุณสหรัชภณ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์