สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) ตามการรับรู้ ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ศึกษาและ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 278 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของ Cohen, Manion and Morrison แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้โรงเรียนเป็นชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent) การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว การทดสอบรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1. ครูมีการรับรู้ต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษา ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการรับรู้ต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). “ตรีนุช” ร่วมซีมีโอ ประกาศจุดยืนพัฒนาเยาวชนยุคอัลฟ่า. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: http://moe360. blog/2021/
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์. 1 (2), 1-10.
ธนพล ใจดี. (2564). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน ขนาดใหญ่พิเศษ กลุ่ม 2 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารร้อยแก่นสาร, 6 (5), 69-79.
นาวิน พินิจอภิรักษ์. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 8 (2), 328-342.
นิธิ เรืองสุขอุดม. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปฐมสุข สีลาดเลา. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชญ์สินี โภชนุกูล. (2564). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ตามทัศนะของครูในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (0BECQA) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15 (3), 109-130.
พรพิมล วรโยธา. (2560). สมรรถนะที่พึงประสงค์ทางการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตตําบลนาสัก อําเภอสวี จังหวัดชุมพร. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. 1593-1604.
พิชามญชุ์ ลาวชัย. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภิชาพัชญ์ โหนา. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
มัทนา วังถนอมศักดิ์, และวรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2564). ผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารความเปลี่ยนแปลง. วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม, 13 (2), 5-25.
รณรงค์ ศุภรัศมี. (2563). สมรรถนะหลักสำหรับนักบริหารระดับสูงภาครัฐของไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารข้าราชการ, สำนักงาน ก.พ., 62 (2), 4-9
วัชพงษ์ อุ้ยวงค์. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิมลรัตน์ ศรีสำอางค์. (2557) . สมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 5 (2), 80-89.
วิไลพร ศรีอนันต์. (2559). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนเอกชนจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. (2563). แผนปฏิบัติการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สระบุรี: สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พศ 2563-2565.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
หทัยพัชร ทองเดช (2560). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสหวิทยา เขตบูรพาสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัจฉรา สระวาส. (2559). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4 (2), 217-231.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th Ed.). NewYork: Routledge.
Hellriegel, Don, Jackson, Susan E. and Slocum, John W. (2005). Management: A Competency-Based Approach (10th ed.) Singapore: Thomson South Western.
Kin, T. M., & Kareem, O. A. (2019). School leaders’ competencies that make a difference in the era of Education 4.0: A conceptual framework. International Journal of Academic Research Business and Social Sciences, 9(5), 214–225.
Qonita Rahmi, Heru Santosa, Siti Zulaikha. (2021). Managerial Competency Model for theManagement of Equality Educational Institutions in the Global Era. Al- Ishlah: Journal Pendidikan, August , 13 (2), 855-860.
Semuel R. Olayvar. (2021). School Heads’ New Normal Leadership and Its Influence on Collaborative School Culture. International Journal of Academic Multidisciplinary Research (IJAMR), 5