การศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสถานการณ์สังคมพลิกผัน (Disruptive) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

นิธิวดี แพรวัฒนะสุข
สุภาวดี ลาภเจริญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสถานการณ์สังคมพลิกผัน (Disruptive) ตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ขนาดของสถานศึกษา และวิทยฐานะครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูปฏิบัติหน้าที่การสอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 357 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของ Cohen, Manion and Morrison จากนั้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นที่ .985 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที (t –test for Independent Samples) และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสถานการณ์สังคมพลิกผัน (Disruptive) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูปฏิบัติหน้าที่การสอนที่มีประสบการณ์การทำงาน ขนาดสถานศึกษา และวิทยฐานะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสถานการณ์สังคมพลิกผัน (Disruptive) โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา https://www. saerhung.go.th/datacenter/doc_download/a_310717_125838.pdf

ธานินทร์ เอื้ออภิธร. (2017). มนุษย์จะสร้างทักษะ-การเรียนรู้ใหม่ เพื่อรับมือ ‘ความเปลี่ยนแปลง’ ในอนาคตอย่างไร?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา https://thestandard.co/learning-for-change/

นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2558). การศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารครุพิบูล. 2 (1), 1 – 15.

นลพรรณ ศรีสุข. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ปวริศา มีศรี, โอฬาร กาญจนากาศ. (2562). สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 8 (1), 138 – 144.

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารการศึกษา. . ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.sammajivasil.net/news11.htm.

วันอาอีซะฮ์ ฮายีเต๊ะ. (2555). สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World) Thai Learners’ Key Competencies in a VUCA World. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์. 1 (1), 8 – 18.

ศิรินาถ ทับทิมใส, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ และวรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง. (2564). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผัน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา. 27 มีนาคม 2564. วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานวิจัยและพัฒนา.

สุมัทนา หาญสุริย์. (2563). การศึกษาบนโลกดิจิทัล (Digital Education). วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 8 (31), 9 – 21.

สุทธิเทพ ช่อปทุมศิริกุล. (2559). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกําหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะทางการบริหาร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.ocsc.go.th/download/2553/คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน-คู่มือสมรรถนะหลัก-เผยแพร่-2553

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education . (7th Ed.). NewYork: Routledge.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.