หลักสูตรการมีส่วนร่วมของนักศึกษาสาขาการประถมศึกษาในการพัฒนาการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

สุภัตรา สาขา
อิสระ ทับสีสด
คทาวุธ ชาติศักดิ์ยุทธ
อุษณีย์ เขนยทิพย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรการมีส่วนร่วมของนักศึกษาสาขาการประถมศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรผู้สูงอายุ  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรการมีส่วนร่วมของนักศึกษาสาขาการประถมศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรการมีส่วนร่วมของนักศึกษาสาขาการประถมศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้สูงอายุ วิทยาลัยนิรชรา 32 คน บุคลกรและผู้เกี่ยวข้อง  14 คน และนักศึกษาสาขาวิชาประถมศึกษาปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 15 คน รวมทั้งหมด จำนวน 61 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยใช้ค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์อัลฟา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแปลผล 5 ระดับรายบุคคล
         ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรการมีส่วนร่วมของนักศึกษาสาขาการประถมศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรผู้สูงอายุมีค่า (  =4.38, S.D. = 0.48) ความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรการมีส่วนร่วมของนักศึกษาสาขาการประถมศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรผู้สูงอายุมีค่า (  =4.36, S.D. = 0.44) และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรการมีส่วนร่วมของนักศึกษาสาขาการประถมศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรผู้สูงอายุมีค่า (  =3.95,S.D. = 0.49)  ความพึงพอใจโดยรวมของผู้สูงอายุ บุคลากรที่เกี่ยวข้องและนักศึกษาโดยรวมในระดับมากทุกข้อของแบบสอบถามมีค่า (  =4.37, S.D. = 0.46)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). รายงานประจำปี. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ออนไลน์. สืบค้น เมื่อ 15 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.dop.th/th/implement tation/2/1/1159.

กิตติ์ธเนศ สว่างวรนาถ ชมสุภัค ครุฑกะ. ( 2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะทางปัญญาของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 20 (1), 207-215.

เทศบาลตำบลป่าเซ่า. (2562). หนังสือขบวนการสร้างเสริมสุขภาพตามกลุ่มประชากรตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.

มนัส จันทร์พวง และคณะ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตแพร่. 3 (1), 87-101.

ภัทราภรณ์ ด้วงเรือง. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 6 (1), 122-134.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ และรัชณีย์ ป้อมทอง. (2561). แนวโน้มการดูแลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21: ความ

ท้าทายในการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 19 (1), 39.

พระครูวิรัติธรรมโชติ, สมบูรณ์ บุญฤทธิ์ และพีระพล สงสาป.(2562). โรงเรียนผู้สูงอายุ: การจัดการระบบสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (3), 1339-1462.

ศศิธร สุขจิตต์, จงรัก ดวงทอง และ วรวุฒิ ธุวะคำ. (2563). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 3 (2), 109.

สุภัตรา สาขา, อิสระ ทับสีสด อุษณีย์ เขนยทิพย์ และคทาวุธ ชาติศักดิ์ยุทธ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 วิทยาลัยนิรชรา โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ Engagement Thailand. ครั้งที่ 7 วันที่ 2-3 กันยายน 2564. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 262-267.