การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

เมธาวี ปัญญาจันทร์สว่าง
สุรัตนา อดิพัฒน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเรียนรู้คำศัพท์ภาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลากโดยให้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ห้องเรียนออนไลน์ เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ วิชาภาษาอังกฤษ 5 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ วิชาภาษาอังกฤษ 5 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) แบบฝึกหัดระหว่างเรียน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ วิชาภาษาอังกฤษ 5 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples
          ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับมาก (M = 4.45, S.D. = 0.41)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จันทิมา มะเกลี้ยง, ประกอบ ใจมั่น, และ กรวรรณ สืบสม. (2562). รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีบูรณาการของเมอร์ด็อคร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10 (1), 119-128.

ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบันที่ 25). (2564, 24 เมษายน). ประกาศกรุงเทพมหานคร.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

วรางคณา เวชพูล. (2559). การพัฒนาทักษะปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อรพรรณ เด่นประภัสร์ และ มณีรัตน์ ช่วยชูวงศ์. (2559). Using Flipped Classroom Model to Develop English Competency and Independent Attributes of Mathayom Suksa 1 Students at Mengrai Maharajwitthayakhom School. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 9 (2), 215-239.

อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา และ สรเดช ครุฑจ้อน. (2562). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยเทคนิคการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 10 (2), 227-236.

Bergmann, Jonathan and Aaron, Sams. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. International Society for Technology in Education.

Kirmizi, Ozkan, and Komec, Funda. (2019). The impact of the flipped classroom on receptive and productive vocabulary learning. Journal of Language and Linguistic Studies, 15(2), 437-449.

Knezevic, Ljiljana, Zupanec, Vera, and Radulovic, Branka. (2020). Flipping the Classroom to Enhance Academic Vocabulary Learning in an English for Academic Purposes (EAP) Course. SAGE Open, 10 (3), 1-15. https://doi.org/10.1177/2158244020957052

Long, Michael H, and Richards, Jack C. (1987). Methodology in TESOL. Newbury House.