การสร้างสรรค์การแสดงประกอบแสง สี เสียง ชุด “เมืองปุราณทวารวดี เรื่องเล่า วิถีชนดงละคร”

Main Article Content

ธีรตา นุ่มเจริญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์การแสดงและเพื่อศึกษากระบวนการจัดการการแสดงประกอบแสง สี เสียง ชุด “เมืองปุราณทวารวดี เรื่องเล่า วิถีชนดงละคร” เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ซึ่งมีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ของคนในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน และการสนทนากลุ่มของชาวบ้านดงละคร การสังเกตจากการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) นำข้อมูลทั้งหมดมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อหาประวัติความเป็นมาและสรุปเป็นอัตลักษณ์ของเมืองโบราณดงละครและการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักแสดงและของผู้ชมการแสดงประกอบแสง สี เสียง ชุด เมืองปุราณทวารวดี เรื่องเล่า วิถีชนดงละคร โดยใช้แบบสอบถามและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. การสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงประกอบแสง สี เสียง ชุดนี้ ผู้วิจัยมีแนวทางการสร้างสรรค์ โดยใช้ทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ของสุรพล วิรุฬห์รักษ์และแนวคิดเกี่ยวกับการแสดงประกอบ แสง สี เสียง มีขั้นตอนการสร้างสรรค์ 7 ขั้นตอน บทการแสดง นำโดยนำข้อมูลจากการศึกษาประวัติความเป็นมา เรื่องเล่า ตำนาน โบราณสถาน สถานที่สำคัญ ประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ ที่มาเรียบเรียงเป็นบทละครตามรูปแบบการจัดทำบทการแสดง แสง สี เสียง แบ่งออกเป็น 4 องก์มาจากข้อมูลมาเรียบเรียงเป็นบทละครตามรูปแบบการจัดทำบทการแสดง แสง สี เสียง ซึ่งประกอบด้วย 4 องก์ ได้แก่ องก์ที่ 1 แหล่งวัฒนธรรม เมืองปุราณทวารวดี องก์ที่ 2 ตำนานแว่วเสียงมโหรีปี่พาทย์ ตำนานเมืองลับแล องก์ที่ 3 วัฒนธรรมเก่าแก่สืบสานประเพณีท้องถิ่น และองก์ที่ 4 แหล่งความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินธรรมชาติ
          2. กระบวนการจัดการแสดงประกอบแสง สี เสียง ชุด “เมืองปุราณทวารวดี เรื่องเล่า วิถีชนดงละคร” มีกระบวนการในการจัดการ ดังนี้ ขั้นการเตรียมการจัดการแสดง ขั้นดำเนินการ ขั้นการแสดงจริง และขั้นการประเมินการสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิลาสินี น้อยครบุรี. (2560). การจัดการแสดง แสง เสียง ชุด “พนมรุ้งมหาเทวาลัย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์