การกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

สัตถา ดาเวียง
พิชัยรัฐ หมื่นด้วง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ต้องขังคดียาเสพติดของเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่จำแนกตามเพศ สถานภาพ อายุ และระดับการศึกษา
          ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ( = 2.77, S.D.= 0.42) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านกฎหมายการลงโทษ ( = 3.34, S.D.= 0.78) รองลงมาคือด้านค่านิยมของการกระทำความผิด ( = 3.31, S.D.= 0.65) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านของสภาพเขตที่อยู่อาศัย ( = 1.89, S.D.= 0.50) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่จำแนกตามเพศ สถานภาพ อายุ และระดับการศึกษา โดยภาพรวมพบว่า ผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิที่มีเพศ สถานภาพ และอายุที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดแตกต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอภูเขียว ได้แก่ ควรปรับเปลี่ยนทัศนะคติและให้โอกาสผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาได้กลับตัวกลับใจเป็นคนดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ และคณะ. (2558). การสำรวจการประเมินแผนปฏิบัติการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี พ.ศ. 2558. รายงานการวิจัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

พงษ์กฤษณ์ มงคลสินธุ์.(2561). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด. Saeng Isan Vol 15 No 1 ( 2018):January-June.

บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วีระชัย เหล่าลงอินทร์ และคณะ .(2552). การกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ว.มรม. 3 (1), 29-38.

สุวรรณ ใจคล่องแคล่ว. (2546). สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี. ภาคนิพนธ์ ศศ.ม.

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุษา คงคลาย. (2538). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อัคคกร ไชยพงษ์. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทาผิดซ้ำของผู้ต้องขังชาย ในเรือนจำ เขต 8. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 4 (1). 125-148.

อายุตม์ สินธพพันธ์. (2545). ตัวแบบเรือนจำที่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์

ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Taro Yamane(1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York.Harper and Row Publications.