การให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

จักรพันธ์ สมบูรณ์ธรรม
บุญเหลือ บุบผามาลา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี และเพื่อให้ข้อเสนอแนวทางพัฒนาคุณภาพ การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานในเขตเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนในเขตเทศบาลตำบลโนนทอง จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane, 1973 : 125) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับเปรียบเทียบการเปรียบเทียบการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน
          ผลการวิจัย การให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.56, S.D.= 0.58) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการให้บริการด้านไฟฟ้าแสงสว่าง ( = 3.75, S.D.= 0.62) รองลงมาคือการให้บริการด้านทางระบายน้ำ ( = 3.60, S.D.= 0.66) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการให้บริการด้านถนน ( = 3.35, S.D.= 0.76) ผลการเปรียบเทียบการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวม พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นในการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นในการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรสร้างถนนในหมู่บ้านให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานมีการตรวจสอบคุณภาพถนนหลังการก่อสร้างเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนะ มหบุญพาชัย. (2558). แนวทางพัฒนาการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร / ชนะ มหบุญพาชัย. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2546). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

มาตุลี ดาราเรือง. (2554). แนวทางพัฒนาการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลพรานกระต่าย

อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์สาขาการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วรเดช จันทรศร. (2544). การพัฒนาต้นแบบการบริการสาธารณะที่เป็นเลิศ : กรณีศึกษาจากต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สหายบล๊อคและการพิมพ์.

วุฒิสาร ตันไชย. (2547). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น: ความก้าวหน้าหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. นนทบุรี: คลังวิชา จำกัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลก ธุรกิจ.

สมิต สัชฌุกร. (2548). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

สมภพ ทบหลง. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาภอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ รป.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Taro Yamane(1973 ).Statistics: An Introductory Analysis.(3rdEd).New York.Harper and RowPublications.