การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วน ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือหัวหน้าครัวเรือนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้ จำนวน 10 หมู่บ้าน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane, 1973 : 125) ได้จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับเปรียบเทียบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.69, S.D.= 0.81) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการตลาดท่องเที่ยว ( = 3.78, S.D.= 0.84) รองลงมาคือด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ( = 3.71, S.D.= 0.91) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการแสวงหาและสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ( = 3.62, S.D.= 0.89) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวม พบว่าหัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนหัวหน้าครัวเรือนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้ ไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่2 (พ.ศ.2560-2564).กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ณัฐทิตา โรจนประศาสน์ และคณะ. (2554). สมรรถนะของเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านในการจัดการประมงร่วม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: www.tcithaijo.org/index.php/NDJ/ article /view/3004
Goodwin, H. & Santilli, R. (2009). Community-based tourism: A success. Leeds: ICRTO ccasional Paper No. 11.
Taro Yamane(1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York.Harper and RowPublications.