การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยเรื่อง โคลงสี่สุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตะกั่วป่า “เสนานุกูล” ที่สอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือแบบฝึกทักษะ วิชาภาษาไทย เรื่อง โคลงสี่สุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทย เรื่อง โคลงสี่สุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะ วิชาภาษาไทย เรื่อง โคลงสี่สุภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนตะกั่วป่า “เสนานุกูล” โดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 2 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสือแบบฝึกทักษะ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนแบบปกติ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1) หนังสือแบบฝึกทักษะ วิชาภาษาไทย เรื่อง โคลงสี่สุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพผลลัพธ์ 84.08/86.44
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทย เรื่อง โคลงสี่สุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะสูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). สาระมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยในหลักสูตร แกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
จรินทร์ งามแม้น. (2553). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนคำประพันธ์กลอนสุภาพและกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (2560). ความสามารถในการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14 (3), 49-62.
ธีรญา เหงี่ยมจุล. (2547). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญเหลือ ใจมโน. (2555). การแต่งคำประพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.
ปัญสุธา ย่องลั่น. (2557). ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสุภาพในวิชาภาษาไทย ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโพธาราม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ปิยนุช ดีวงศ์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาจีน เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สมบัติ ทรัพย์ศรี. (2555). การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่องการตกแต่งอาหารด้วยการแกะสลักผักและผลไม้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยชุดฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เสาวนีย์ โพธิ์เต็ง. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการสร้างคำในภาษาไทย โดยจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.