คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอเอราวัณ จำนวน 146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของประชากร สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอเอราวัณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.70, σ = 0.65) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี (μ = 3.79, σ = 0.77) รองลงมาคือด้านรายได้และผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ (μ = 3.76, σ = 0.75) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ (μ = 3.58, σ = 0.96) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวม พบว่าพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย ที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย ที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานฝ่ายปกครอง ได้แก่ ควรมีหลักเกณฑ์การพิจารณาปรับอัตราเงินเดือนและผลตอบแทนให้มีความยุติธรรม
Article Details
References
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พริ้นท์.
ณัฐชาต อินทจักร์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ. (2556). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานที่ส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาองค์การของบริษัท อินเตอร์แอ็ดว้านซ์ฟูด จำกัด. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6 (3), 830-894.
ญาณิศา ลิ้มรัตน์. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลบรรยากาศจริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาลคุณภาพชีวิตการทำงานกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของ พยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุศรา กายี. (2546). วัฒนธรรมองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลบริหารการพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิชาญ สุวรรณรัตน์. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทางานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานปฏิบัติการบิน บริษัท การบินไทย จากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมชาย อุทัยน้อย และ เสนาะ กลิ่นงาม. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมการปกครองกับข้าราชการกรมส่งเสริมส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการและ เสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัยใช้องค์ความรู้สู่ ความยั่งยืน. 17 มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.
Dessler, G (1991). Human Resource Management (8th ed). New Jersey: Prentice-Hall.